.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม


พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481
(การจดทะเบียนเป็นเรือไทย)


ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

              พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเล คือ

              มาตรา 5 
ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

              1. “น่านน้ำไทย” หมายความถึง บรรดาน่านน้ำที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของประเทศไทย

              2.  “เมืองท่า” หมายความถึง ทำเล หรือถิ่นที่ทอดจอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสารหรือของ

                                          ฯลฯ                                                         ฯลฯ

              มาตรา 7
  ผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือจดทะเบียนเป็นเรือไทยซึ่งทำการค้าในน่านน้ำไทยได้ตามมาตรา 47 ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

              (1)  เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย

              (2)  เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย

              (3)  เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

              (4)  เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้

                     (ก)     ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย

                     (ข)     ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทั้งหมดเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย และทุนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว

                     (ค)     บริษัทจำกัดที่กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทย หุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าวและไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้ออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ

                     (ง)      บริษัทมหาชนจำกัดที่กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทยและหุ้นอันเป็นทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “คนต่างด้าว” หมายความว่า คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

              มาตรา 8
  เรือดังจะกล่าวต่อไปนี้ เมื่อได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ถือว่าเป็นเรือไทย

สำหรับการค้าในน่านน้ำไทย

     1. เรือกล ขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป

     2. เรือทะเลที่มิใช่เรือกล ขนาดตั้งแต่ยี่สิบตันกรอสขึ้นไป

     3. เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกล ขนาดตั้งแต่ห้าสิบตันกรอสขึ้นไป

สำหรับการประมง

     1. เรือกลทุกขนาด

     2. เรือที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่หกตันกรอสขึ้นไป

              มาตรา 15
เรือลำใดได้จดทะเบียนเป็นเรือไทย ณ เมืองท่าใด เมืองท่านั้นเป็นเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้น

              มาตรา 47 
นอกจากจะมีความตกลงกับต่างประเทศเป็นอย่างอื่นเรือไทยซึ่งได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้และเรือมีขนาดต่ำกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 สำหรับการค้าในน่านน้ำไทย ซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 7 เท่านั้นจะทำการค้าในน่านน้ำไทยได้ บทบัญญัติในวรรคก่อนไม่ใช้บังคับแก่เรือของบุคคลธรรมดาที่เป็นคนต่างด้าวซึ่งมีขนาดต่ำกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 สำหรับการค้าในน่านน้ำไทย

              มาตรา 55 
ในกรณีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือในกรณีความผิดที่เกิดขึ้นในเรือไทย ให้ถือว่าเจ้าพนักงานต่อไปนี้เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย เมื่อปฏิบัติตามมาตรา 78 และมาตรา 92 แห่งประมวลกฎหมายนั้น

1. เจ้าท่า หรือผู้รักษาการแทนเจ้าท่า

2. นายทหารชั้นสัญญาบัตรผู้ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ ผู้บังคับบัญชาป้อม ผู้บังคับการเรือ หรือผู้บังคับการกอง ทหารแห่งราชนาวี

3. เจ้าพนักงานประมงหรือเจ้าพนักงานศุลกากรตั้งแต่ตำแหน่งประจำแผนกขึ้นไป

4. เจ้าพนักงานอื่นๆ ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งเพื่อการนี้

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ เจ้าพนักงานประมงและเจ้าพนักงานศุลกากรต่ำกว่าตำแหน่งประจำแผนกลงมา ให้ถือว่าเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ

 

 


bottom

top

Latest News

Popular


bottom