.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม


พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำบางอย่างในการขนส่งสินค้าขาออกทางเรือ พ.ศ. 2511

ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

           พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเลคือ


           มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

           “ผู้ขนส่ง” หมายความว่า ผู้รับขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยทางเรือที่มีระวางบรรทุกไม่น้อยกว่าหนึ่งพันเมตริกตันหรือผู้ทำการแทน


           “ผู้ส่งออก” หมายความว่า ผู้ทำความตกลงกับผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าขาออกทางเรือ

           “เงินส่วนลดที่กักไว้” หมายความว่า เงินส่วนลดจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และ หมายความรวมถึงเงินรางวัลหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ผู้ขนส่งสัญญาโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะจ่ายหรือให้แก่ผู้ส่งออก แต่ยังกักไว้จนกว่าผู้ส่งออกได้ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์มิให้ผู้ส่งออกใช้เรือของผู้อื่นนอกจากที่ผู้ขนส่งระบุให้

           มาตรา 4  ห้ามมิให้ผู้ขนส่งกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

           (1)  เข้าเป็นคู่สัญญาหรือทำความตกลงโดยตรงหรือโดยปริยายกับผู้ส่งออกโดยจงใจ ให้ผู้ส่งออกรายใดรายหนึ่งเสียเปรียบเกี่ยวกับการรับระวางบรรทุก อัตราค่าระวาง ค่าธรรมเนียม หรือการให้บริการอย่างอื่น

           (2)  ปฏิเสธไม่ยอมรับบรรทุกสินค้าของผู้ส่งออกรายใดรายหนึ่งเพราะผู้ส่งออกได้ใช้เรือของผู้ขนส่งรายอื่น

           มาตรา 5  ห้ามมิให้ผู้ขนส่งกำหนดให้มีเงินส่วนลดที่กักไว้โดยตรงหรือโดยปริยายเกินร้อยละสิบของเงินที่เรียกเก็บจากผู้ส่งออก และมิให้กักเงินส่วนลดเกินสองเดือนนับแต่วันสิ้นเดือนที่มีการชำระเงินที่เรียกเก็บจากผู้ส่งออก ในกรณีที่มีการกักเงินส่วนลด จะต้องมีสัญญาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ขนส่งและผู้ส่งออก และระบุข้อความดังกล่าวข้างต้นด้วย
ในกรณีที่ถึงกำหนดชำระเงินส่วนลดที่กักไว้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ขนส่งต้องชำระเงินนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนด


           มาตรา 8  ห้ามมิให้ผู้ขนส่งขึ้นอัตราค่าระวางสำหรับสินค้าใด เว้นแต่จะได้ชำระเงินส่วนลดที่กักไว้สำหรับสินค้านั้นแก่ผู้ส่งออกทุกรายให้เสร็จสิ้นก่อนถึงวันใช้บังคับอัตราค่าระวางที่เปลี่ยนแปลงใหม่

 


bottom

top

Latest News

Popular


bottom