พิมพ์


พระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537

(จำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเลรวมถึงสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการดำเนินงานของเรือ)


ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

             พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเล คือ

             มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

             “เรือ” หมายความว่า เรือขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไปที่เดินด้วยเครื่องจักรกลไม่ว่าจะใช้กำลังอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และเป็นเรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเลตามกฎข้อบังคับการตรวจเรือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย

             มาตรา 12 การจดทะเบียนจำนองเรือไทยให้จดทะเบียนที่ที่ทำการนายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้นโดยให้นายทะเบียนเรือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียน และให้จดไว้ในสมุดทะเบียนและหมายเหตุไว้ในใบทะเบียน

             ในกรณีที่เจ้าของเรือไทยประสงค์จะจดทะเบียนจำนองของตนที่ที่ทำการนายทะเบียนเรืออื่น นอกจากที่ทำการนายทะเบียนเรือตามวรรคหนึ่ง หรือที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทย ให้นายทะเบียนเรืออื่นนั้นหรือเจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทย แล้วแต่กรณีเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนโดยหมายเหตุไว้ในใบทะเบียนแล้วส่งสำเนาให้นายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้นโดยด่วน เมื่อได้รับสำเนาเช่นนั้นแล้ว ให้นายทะเบียนเรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือจดข้อความนั้นไว้ในสมุดทะเบียนให้นายทะเบียนเรือ และเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนจำนองเรือ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

             เรืออาจขอให้นายทะเบียน เรือประจำเมืองท่าขึ้นทะเบียนของเรือนั้น ออกใบแทนใบทะเบียนเรือไทย สำหรับนำไปกับเรือระหว่างเวลาที่นำใบทะเบียนเรือไทยมาจดทะเบียนตามมาตรา 12

             การออกใบแทนใบทะเบียนเรือไทยตามวรรคหนึ่ง ให้หมายเหตุไว้ในใบแทนดังกล่าวด้วยว่า ใช้แทนใบทะเบียนเรือไทยในระหว่างการดำเนินการเพื่อจดทะเบียนจำนองเรือดังกล่าเท่านั้น แต่ให้มีอายุใช้ได้ไม่เกินหกสิบวัน

             ใบแทนใบทะเบียนเรือไทยตามมาตรานี้ให้มีผลเสมือนเป็นใบทะเบียนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย

             มาตรา 15 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 24 ผู้รับจำนองทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากเรือที่จำนองก่อนเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามประมลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเจ้าหนี้อื่น ๆ ของเจ้าของเรือนั้น

             มาตรา 22  ผู้ใดมีสิทธิเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับเรือลำหนึ่งลำใด และมูลแห่งสิทธิเรียกร้องนั้นมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิทางทะเลเหนือเรือลำนั้น

             (1)  สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการทำงานในฐานะนายเรือ ลูกเรือหรือคนประจำเรือของเรือลำนั้น

             (2)  สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บของบุคคลใดๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานของเรือลำนั้น

             (3)  สิทธิเรียกร้องเอาค่าตอบแทนในการช่วยเหลือกู้ภัยเรือลำนั้น

             (4)  สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการดำเนินงานของเรือลำนั้น แต่ไม่รวมถึงสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับการสูญหายหรือเสียหายของสินค้า และสิ่งของของผู้โดยสารที่อยู่ในเรือลำนั้น

             สิทธิเรียกร้องตาม (2) หรือ (4) ที่เกิดจากมลพิษน้ำมัน วัตถุกัมมันตรังสี กัมมันตภาพรังสีและวัตถุนิวเคลียร์ ไม่ก่อให้เกิดบุริมสิทธิทางทะเลเหนือเรือลำนั้น

             มาตรา23  ให้เจ้าหนี้บุริมสิทธิทางทะเลมีสิทธิได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากเรือที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งบุริมสิทธิทางทะเล ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องจะเป็นเจ้าของเรือหรือไม่ก็ตาม