พิมพ์


พระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. 2547
(ความเสียหายรวมถึง ความเสียหายจากมลภาวะเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ตามหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการพาณิชยนาวีระหว่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปให้นำมาเฉลี่ยได้)


ฉบับเต็ม คลิกที่นี่


              พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเล คือ


              มาตรา 3  ในพระราชบัญญัตินี้

“ความเสียหายทั่วไป” หมายความว่า ความสูญเสีย หรือความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นผลโดยตรงจากการเสียสละทรัพย์สิน หรือค่าใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจงใจกระทำขึ้นตามสมควรเพื่อปกป้องรักษาเรือและทรัพย์สินที่เผชิญภยันตรายร่วมกัน

“เรือ” หมายความว่า เรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเล

“เจ้าของเรือ” หมายความว่า ผู้มีกรรมสิทธิ์ในเรือ เว้นแต่กรณีมีการเช่าหรือเช่าซื้อเรือให้หมายถึงเฉพาะผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อซึ่งควบคุมและครอบครองเรือโดยผลแห่งสัญญานั้น

“ผู้ประเมิน” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ในด้านการประเมินความเสียหายทั่วไปซึ่งเจ้าของเรือ ผู้ได้รับความเสียหายทั่วไป หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นใด แล้วแต่กรณี แต่งตั้งให้ดำเนินการประเมินความเสียหายทั่วไปและกำหนดส่วนเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปตามพระราชบัญญัตินี้

“ผู้ที่ต้องร่วมเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป” หมายความว่า เจ้าของเรือและเจ้าของทรัพย์สินซึ่งเรือหรือทรัพย์สินของตนรอดพ้นจากภยันตราย และสามารถเดินทางไปถึงท่าปลายทางหรือถึงท่าที่การเดินทางต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 6

             มาตรา 6  ในกรณีที่เรือหรือทรัพย์สินรอดพ้นจากภยันตราย และสามารถเดินทางไปถึงท่าปลายทางหรือถึงท่าที่การเดินทางต้องสิ้นสุดลง เจ้าของเรือและเจ้าของทรัพย์สินที่รอดพ้นจากภยันตรายดังกล่าว จะต้องร่วมเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปกับผู้ได้รับความเสียหายทั่วไป

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้

(1) ทรัพย์สินที่รอดพ้นจากภยันตรายเป็นสัมภาระหรือของใช้ส่วนตัวของผู้โดยสารหรือคนประจำเรือ หรือไปรษณียภัณฑ์

(2) ความเสียหายเกี่ยวกับมลภาวะ ยกเว้นค่าใช้จ่ายที่ตามหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการพาณิชยนาวีระหว่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปให้นำมาเฉลี่ยได้