.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม



ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58

ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

             ประกาศของคณะปฏิบัติวัติฉบับนี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเลคือ 


            ข้อ 3
  กิจการดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค

            (1)  การรถไฟ

            (2)  การรถราง

            (3)  การขุดคลอง

            (4)  การเดินอากาศ

            (5)  การประปา

            (6)  การชลประทาน

            (7)  การไฟฟ้า

            (8)  การผลิตเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายก๊าซโดยระบบเส้นท่อไปยังอาคารต่างๆ

            (9)  บรรดากิจการอื่นอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชนตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา

            การตราพระราชกฤษฎีกาตาม (9) ให้กำหนดกระทรวงผู้มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวข้องกับกิจการ    นั้นด้วย

            ข้อ 4  ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค เว้นแต่จะได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรี

            ข้อ 7  ในการอนุญาตหรือให้สัมปทานตามข้อ 4 และข้อ 5 รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ตามที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชนไว้ด้วยก็ได้

            เงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมก็ได้ แต่ต้องกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับเงื่อนไขที่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมตามที่รัฐมนตรีเห็นสมควร

            
            พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้กิจการท่าเรือเดินทะเลเป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน พ.ศ. 2522

            มาตรา 3 ให้กิจการท่าเรือเดินทะเลที่มีท่าให้บริการในการจอด เทียบ บรรทุก หรือขนถ่ายสินค้าแก่เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ห้าร้อยตันกรอสขึ้นไป ไม่ว่าจะมีการเรียกค่าตอบแทนในการให้บริการหรือไม่ เป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน

            
            ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้ประกอบกิจการท่าเรือซึ่งเป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชนตามข้อ 3 (9) แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2515 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กิจการท่าเรือเดินทะเลเป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน พ.ศ. 2522

ประกาศนี้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางทะเล ดังนี้

            ข้อ 2 ในประกาศนี้

            “ท่าเรือ” หมายความว่า สถานที่สำหรับให้บริการแก่เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ห้าร้อยตันกรอสขึ้นไป ในการจอด เทียบ บรรทุกหรือขนถ่ายของ และให้หมายความรวมถึงสิ่งลอยน้ำอื่นใดไม่ว่าจะมีเครื่องจักรสำหรับขับเคลื่อนหรือไม่ก็ตาม ซึ่งใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันแต่มิได้ใช้เพื่อการขนส่ง

            “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ประกอบกิจการท่าเรือ


            ข้อ 3
  ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการท่าเรือที่ให้บริการในการจอด เทียบ บรรทุก หรือขนถ่ายสินค้าแก่เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ห้าร้อยตันกรอสขึ้นไป ไม่ว่าจะมีการเรียกค่าตอบแทนในการให้บริการหรือไม่ ให้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อรัฐมนตรี ณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีตามแบบและวิธีการที่กำหนด

            ข้อ 7 ทวิ  ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตให้ประกอบกิจการท่าเรือเดินทะเล ดังต่อไปนี้

            (1) ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตาม “คู่มือการรักษาความปลอดภัยสำหรับท่าเรือ” แนบท้ายประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้ประกอบกิจการท่าเรือ ซึ่งเป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชนตามข้อ 3 (9) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 2)

                                          ฯลฯ                                         ฯลฯ

 

คู่มือ

การรักษาความปลอดภัยสำหรับท่าเรือ

__________________

            ด้วยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 2002 (International Convention for the Safety of Life at Sea 1974, as amended 2002) กำหนดให้เรือและท่าเรือระหว่างประเทศที่อยู่ในบังคับของประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ (International Ship and Port Facility Security Code : ISPS Code) ต้องมีการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือ เพื่อป้องกันภัยคุกคามการก่อการร้ายหรือการกระทำอันเป็นโจรสลัดหรือการกระทำอื่นใดอันอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการขนส่งทางน้ำ และเพื่อให้มั่นใจว่าเรือและท่าเรือมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอและเหมาะสม โดยการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

หมวดที่ 1

คำนิยาม



            ข้อ 1 
คำนิยาม

            “คู่มือ” หมายถึง คู่มือการรักษาความปลอดภัยสำหรับท่าเรือ

            “อนุสัญญา” หมายถึง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 2002 (International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974, as amended 2002) 1974

“อธิบดี” หมายถึง อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี

            “ประมวลข้อบังคับ” หมายถึง ประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ (International Ship and Port facility Security Code : ISPS Code) ที่ออกตามความในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล

            “ท่าเรือ (Port facility)” หมายถึง สถานที่สำหรับให้บริการแก่เรือที่มีการปฏิบัติการระหว่างเรือกับท่าเรือ หรืออู่เรือ และให้หมายรวมถึงบริเวณที่จอดทอดสมอเรือและพื้นที่ทางน้ำทางเข้าท่าเรือ

            “การปฏิบัติการระหว่างเรือกับท่าเรือ (Ship/port interface)” หมายถึงการปฏิบัติต่อกันที่เกิดขึ้นเมื่อเรือได้รับผลโดยตรงและทันทีทันใดจากการกระทำนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของบุคคลสินค้า การให้บริการของท่าเรือแก่เรือหรือจากเรือ

            “กิจกรรมระหว่างเรือกับเรือ (Ship-to-ship activity)” หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ แต่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าหรือบุคคลจากเรือลำหนึ่งไปยังเรืออีกลำหนึ่ง

            “เหตุการณ์คุกคามความปลอดภัย (Security incident)” หมายถึง การกระทำหรือสถานการณ์ที่น่าสงสัยใด ๆ ที่คุกคามการรักษาความปลอดภัยของเรือ รวมถึงแท่นขุดเจาะเคลื่อนที่ได้และเรือความเร็วสูง หรือท่าเรือ หรือการปฏิบัติการระหว่างเรือกับท่าเรือ หรือกิจกรรมระหว่างเรือกับเรือใด ๆ

            “ภัยคุกคามความปลอดภัยของเรือและท่าเรือ (Security Threats)” หมายถึง องค์ประกอบของขีดความสามารถและความตั้งใจของกลุ่มก่อการร้ายในการลงมือปฏิบัติการจู่โจมเป้าหมายของเรือและท่าเรือซึ่งแตกต่างกันตามกลุ่ม สถานที่ เป้าหมายและกาลเวลา เช่น การลักขโมยสินค้า (Pilferage and theft) การลักลอบขนยาเสพติด (Illicit drugs smuggling) คนแอบซ่อนลงเรือ (Illegal migrants and stowaways) โจรสลัดหรือปล้นสดมภ์เรือ (Piracy and armed robbery against ship) การก่อวินาศกรรม การก่อการร้ายสากล (Terrorism) การลอบวางระเบิด (Bombing) การยึดยานพาหนะ การลักพาคน(Kidnapping) การวางเพลิง (Arson) การลอบสังหาร (Assassination) การจับตัวประกัน (Hostage taking) การซุ่มโจมตี (Ambush) เป็นต้น (Sabotage) (Hijacking)

            “จุดเปราะบาง (vulnerability)” หมายถึง จุดอ่อนหรือความน่าจะเป็นเป้าหมายต่อการจู่โจม

            “ผลที่ตามมา (consequence)” หมายถึง ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น

            “ความเสี่ยง (Risk)” หมายถึง ผลการวิเคราะห์ภัยคุกคามความปลอดภัยจุดเปราะบางของเป้าหมายและผลที่ตามมาของการโจมตีดังกล่าว

            “ศูนย์ควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล” หมายถึง ศูนย์ควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี

หมวดที่ 2

การบังคับใช้


            ข้อ 2
คู่มือนี้ใช้บังคับกับท่าเรือที่ให้บริการแก่เรือเดินระหว่างประเทศ (Port facilities serving such ships engaged on international voyages) ดังต่อไปนี้

            (1) เรือโดยสาร รวมถึงเรือโดยสารความเร็วสูง(Passenger ships, including high-speed passenger craft)

            (2) เรือสินค้า รวมถึงเรือความเร็วสูงที่มีขนาด 500 ตันกรอสและมากกว่า (Cargo ships, including high-speed craft, of 500 gross tonnage and upwards) แท่นขุดเจาะเคลื่อนที่ได้ (Mobile offshore drilling units) และ

            ข้อ 3
แท่นขุดเจาะปิโตรเลียมไม่เคลื่อนที่และถังเก็บปิโตรเลียมลอยน้ำในบริเวณไหล่ทวีป ให้ปฏิบัติตามแนวทางการจัดการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดในอนุสัญญาและประมวลข้อบังคับโดยอนุโลม

            ข้อ 4
คู่มือนี้ ไม่ใช้บังคับกับท่าเรือที่รัฐเป็นเจ้าของหรือดำเนินการและมิได้ใช้เพื่อการค้า

หมวดที่ 3

หน้าที่ความรับผิดชอบท่าเรือ


            ข้อ 5
ท่าเรือต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือและเรือของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี และปฏิบัติตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเลเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัย พร้อมทั้งต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ โดยให้บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการรักษาความปลอดภัย และต้องจัดให้มีช่องสื่อสารสำหรับการติดต่อประสานงานบุคคลดังกล่าวตลอดเวลา

หมวดที่ 4

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย


            ข้อ 6
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (Port Facility Security Officer : PFSO) บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากท่าเรือให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเรือ ท่าเรือ ภัยคุกคามความปลอดภัยและมาตรการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ และผ่านการอบรมด้านการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือตามที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีกำหนด และต้องแจ้งรายชื่อผู้ได้รับการแต่งตั้งให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีทราบ
หมายถึง

            ข้อ 7
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือมีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

            (1) ดำเนินการสำรวจสภาพการรักษาความปลอดภัยของท่าเรืออย่างละเอียดโดยคำนึงถึงการประเมินสถานการณ์รักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

            (2) กำกับให้มีการจัดทำและดูแลรักษาแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

            (3) ปฏิบัติและฝึกซ้อม ตามแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

            (4) ดำเนินการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยของท่าเรืออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของท่าเรืออย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

            (5) ให้คำแนะนำและปรับเปลี่ยนแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือตามความเหมาะสมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงแผนให้ทันสมัยโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงภายในท่าเรือ

            (6) เสริมสร้างให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือมีความตระหนักและเฝ้าระวังในเรื่องการรักษาความปลอดภัย

            (7) กำกับให้มีการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการรักษาความปลอดภัยของท่าเรืออย่างเพียงพอ

            (8) รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบันทึกการเกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อการรักษาความปลอดภัยของท่าเรืออย่างเพียงพอ

            (9) ประสานการปฏิบัติตามแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ กับบริษัทและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ

            (10) ประสานงานกับหน่วยงานด้านการรักษาความปลอดภัยต่างๆ

            (11) กำกับ ดูแล ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือให้เป็นไปตามมาตรฐาน

            (12) กำกับ ดูแล เพื่อให้มีการใช้ ทดสอบ ปรับแต่ง และบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม

            (13) ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ ในการยืนยันตัวบุคคลที่ขออนุญาตขึ้นเรือเมื่อได้รับการร้องขอ

หมวดที่ 5

การรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ


            ข้อ 8 ในการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังนี้

            (1) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ อาจมีหน้าที่รับผิดชอบท่าเรือแห่งเดียวหรือหลายแห่งก็ได้ตามความเหมาะสม และมอบหมายให้ผู้ช่วยปฏิบัติหน้าที่แทนภายใต้การรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ

            (2) จัดทำรายงานประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือ (Port Facility Security Assessment) โดยคำนึงถึงภัยคุกคามและจุดเปราะบางต่างๆ เพื่อให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีอนุมัติ

            (3) จัดทำแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ (Port Facility Security Plan) โดยคำนึงถึงผลการประเมินตาม (2) และมาตรการที่มีอยู่เพื่อให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีอนุมัติ

            (4) จัดการฝึกปฏิบัติ (Drill) และฝึกซ้อม (Exercise) ตามแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือโดยให้มีการฝึกปฏิบัติ อย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก ๆ 3 เดือน และฝึกซ้อมแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยระยะเวลาระหว่างการฝึกซ้อมแผนต้องไม่เกิน 18 เดือน และต้องบันทึกผลการฝึกทุกครั้งด้วย

            (5) ปฏิบัติตามแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือที่ผ่านการอนุมัติ และติดตามประเมินผลการปฏิบัติทบทวน ปรับปรุง (Internal Audit) และแก้ไขแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ต้องดำเนินการโดยบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมรักษาความปลอดภัยที่ตรวจสอบเว้นแต่กรณีมีข้อจำกัดด้านขนาดและลักษณะของท่าเรือ

            (6) จัดเก็บรักษาแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือฉบับสมบูรณ์ ที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีอนุมัติแล้ว ไว้ประจำท่าเรือตลอดเวลา และต้องป้องกันการเข้าถึง การลบ การทำลาย หรือการแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีระบบควบคุมการแจกจ่ายเอกสารให้ผู้เกี่ยวข้อง

            ข้อ 9
มาตรการป้องกันเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของท่าเรือที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 1 ประกอบด้วย

            (1) การดำเนินการเพื่อให้มีการปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยภายในท่าเรือทั้งหมด

            (2) การควบคุมทางเข้าออกท่าเรือ

            (3) การเฝ้าระวังดูแลท่าเรือ รวมทั้งที่ทอดสมอและบริเวณท่าเทียบเรือ

            (4) การเฝ้าระวังดูแลเขตหวงห้าม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ผ่านเข้าออกเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

            (5) การอำนวยการในการขนถ่ายสินค้า

            (6) การอำนวยการในการขนถ่ายของใช้ประจำเรือ และ

            (7) การกำกับเพื่อให้ระบบการสื่อสารเพื่อการรักษาความปลอดภัย มีความพร้อมอยู่เสมอ

            ข้อ 10
ที่ระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับที่ 2 ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเพิ่มเติมตามที่กำหนดไว้ในแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ ตามกิจกรรมที่ระบุในข้อ 9

            ข้อ 11
ที่ระดับการรักษาความปลอดภัย ระดับที่ 3 ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเฉพาะตามที่กำหนดไว้ในแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ ตามกิจกรรมที่ระบุในข้อ 10

            ข้อ 12
มาตรการหรือขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนรักษาความปลอดภัยท่าเรือใช้ในการรักษาความปลอดภัยที่ระดับการรักษาความปลอดภัย (Security level) ต่างๆ ต้องพยายามให้เกิดการแทรกแซงหรือความล่าช้าต่อผู้โดยสารเรือ เรือ คนประจำเรือ ผู้มาติดต่อ สินค้าและการบริการให้น้อยที่สุด

            ข้อ 13
การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือ ต้องกำหนดขอบเขตอาณาบริเวณที่มีการปฏิบัติการระหว่างเรือกับท่าเรือให้ชัดเจนและตรวจสอบสถานที่ทบทวนและปรับปรุงการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือให้ทันสมัยตลอดเวลาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงภัยคุกคามที่เปลี่ยนไป และมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

            (1) กำหนดและประเมินค่า ทรัพย์สินและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ของท่าเรือที่มีความจำเป็นต้องปกป้อง

            (2) ระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดต่อทรัพย์สินและโครงสร้างพื้นฐานและแนวโน้มของการเกิดภัยคุกคามดังกล่าว เพื่อจัดทำและกำหนดลำดับความสำคัญของมาตรการรักษาความปลอดภัย

            (3) ระบุ เลือก และจัดลำดับความสำคัญของมาตรการต่อต้าน และการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการปฏิบัติงาน และระดับของประสิทธิผลในการลดความเปราะบาง

            (4) ระบุจุดเปราะบางของท่าเรือ โดยตรวจสอบนโยบาย สิ่งอำนวยความสะดวกและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 15

            
            การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือต้องดำเนินการโดยผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านเรือ ท่าเรือ และวิธีการรักษาความปลอดภัย


            ข้อ 14
การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือแล้วเสร็จ จะต้องจัดทำรายงานซึ่งประกอบด้วยบทสรุปเกี่ยวกับวิธีการประเมิน รายละเอียดของจุดเปราะบางที่ตรวจพบระหว่างการประเมินและรายละเอียดของมาตรการแก้ไขที่สามารถนำใช้กับจุดเปราะบางแต่ละข้อ รายงานฉบับนี้จะต้องเก็บรักษาไว้ไม่ให้มีการเข้าถึงหรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต

            ข้อ15
การจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์รักษาความปลอดภัยท่าเรือต้องประกอบด้วยบทสรุปเกี่ยวกับวิธีประเมินรายละเอียดของจุดเปราะบางที่ตรวจพบระหว่างการประเมิน และรายละเอียดมาตรการตอบโต้ที่สามารถนำมาใช้ขจัดจุดเปราะบางแต่ละข้อ รายงานที่อาจเกิดขึ้นเพื่อประกอบในการใช้ จัดทำแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ และรายงานฉบับนี้จะต้องเก็บรักษาไว้ไม่ให้มีการเข้าถึงหรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต

            ข้อ 16
แผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ หมายถึง แผนที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ามีการใช้มาตรการที่จัดทำขึ้นเพื่อปกป้องท่าเรือ ตลอดจนเรือ คน สินค้า ตู้สินค้า ของใช้ประจำเรือภายในเขตท่าเรือจากความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย เป็นเอกสารที่พัฒนาขึ้นตามผลที่ได้จากการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือ แผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือจะต้องกำหนดการปฏิบัติในสถานการณ์ระดับความปลอดภัยทั้งสามระดับ และจัดเป็นชั้นความลับ (Confidential)

            ข้อ17
การจัดทำแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือให้จัดทำเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ ตามแนวทางแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ โดยระบุถึงรายการต่าง ๆ อย่างน้อยดังนี้

            (1) มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันอาวุธ หรือวัตถุอันตรายและเครื่องมือสำหรับใช้ทำอันตรายต่อบุคคล เรือหรือท่าเรือ และการนำพาสิ่งของเหล่านั้น เข้ามาในท่าเรือหรือบนเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต

            (2) มาตรการเพื่อป้องกันการเข้าไปในเขตท่าเรือ บนเรือที่ผูกทุ่นหรือเทียบท่าและเขตหวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต

            (3) ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยหรือการฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งข้อกำหนดเพื่อให้การปฏิบัติการที่สำคัญของท่าเรือ หรือการปฏิบัติการระหว่างเรือและท่าเรือสามารถดำเนินการต่อไปได้

            (4) ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อคำแนะนำของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับ ที่ 3

            (5) ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการอพยพคน ในกรณีที่เกิดภัยคุกคามหรือการฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัย

            (6) หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของท่าเรือ ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบด้านการรักษาความปลอดภัย และหน้าที่ของบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย

            (7) ขั้นตอนการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการรักษาความปลอดภัยของเรือ

            (8) ขั้นตอนการทบทวนแผนตามระยะเวลาและปรับปรุงแผนให้ทันสมัย

            (9) ขั้นตอนการรายงานเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัย

            (10) ระบุเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ รวมทั้งรายละเอียดที่สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

            (11) มาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่อยู่ในแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

            (12) มาตรการรักษาความปลอดภัยแก่สินค้า และอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าในท่าเรือ

            (13) ขั้นตอนการตรวจสอบแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

            (14) ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตอบสนองในกรณีระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยของเรือส่งสัญญาณขณะเรืออยู่ในท่าเรือ

            (15) ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่ออำนวยความสะดวก กรณีคนประจำเรือขึ้น-ลงเรือหรือเปลี่ยนคนประจำเรือ การขึ้นไปบนเรือของผู้มาติดต่อ รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานราชการ

            ข้อ 18
ท่าเรือที่ประสงค์จะให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีอนุมัติรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือและแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ ให้ยื่นคำขอที่ส่วนตรวจท่า สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำเพื่อพิจารณาตรวจสอบ และเมื่อพบว่าการปฏิบัติเป็นไปตามคู่มือที่กำหนดครบถ้วนสมบูรณ์ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีจะออกหนังสืออนุมัติแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

            แผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรณีตรวจพบข้อบกพร่องอื่นใดหรือมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่กำหนดในแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ ท่าเรือต้องทำการปรับปรุงเพิ่มเติมให้เรียบร้อยสมบูรณ์และได้รับอนุมัติก่อนนำไปปฏิบัติ

            ข้อ19
การขอหนังสือรับรองการปฏิบัติของท่าเรือเพื่อการรักษาความปลอดภัย ให้ยื่นคำขอที่ส่วนตรวจท่า สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ พร้อมด้วยเอกสารดังต่อไปนี้

            (1) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านและภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้บริหารท่าเรือ

            (2) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของหรือผู้บริหารท่าเรือ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคลให้ยื่นคำขอพร้อมสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุชื่อผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล

            (3) รายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือและแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการอนุมัติแล้ว ในรูปแบบเอกสารจำนวน 3 ชุด และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 1 ชุด

            (4) หลักฐานหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องที่อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีกำหนดเพิ่มเติม

            ข้อ 20
ท่าเรือที่ได้ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือที่ได้รับการอนุมัติ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีจะออกหนังสือรับรองการปฏิบัติของท่าเรือเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Statement of Compliance of a Port Facility) ให้แก่ผู้ขออนุญาตโดยมีอายุไม่เกิน 5 ปี และต้องได้รับการตรวจสอบประจำปี ภายในระยะเวลา 1 เดือน ก่อนหรือหลังครบรอบปีของหนังสือรับรองนั้น ยกเว้นในปีสุดท้ายของหนังสือรับรองต้องผ่านการตรวจจากเจ้าพนักงานก่อนหมดอายุ 3 เดือน

            ข้อ 21
หนังสือรับรองการปฏิบัติของท่าเรือเพื่อการรักษาความปลอดภัย และหนังสืออนุมัติแผนรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ เมื่อเจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบเห็นว่าท่าเรือดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามคู่มือนี้โดยความเห็นชอบจากอธิบดี อาจถูกยกเลิก เพิกถอนหรือระงับ

หมวดที่ 6

ระดับการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติ



            ข้อ 22 ระดับการรักษาความปลอดภัย (Security level) หมายถึง คุณสมบัติของระดับของความเสี่ยงที่จะมีความพยายามก่อให้เกิดหรือจะเกิดเหตุการณ์คุกคามความปลอดภัย กำหนดโดยกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีบนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านรักษาความปลอดภัย

            (1) ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 1 หมายถึง เป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานและระดับที่จะต้องใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกันที่เหมาะสมขั้นต่ำตลอดเวลา

            (2) ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 2 หมายถึง เป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เรือและท่าเรือจะต้องป้องกันตนเองเพิ่มขึ้นเนื่องจากความน่าจะเป็นของภัยคุกคามเพิ่มมากขึ้นตามความเหมาะสมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นผลมาจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยสูงขึ้น

            (3) ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่ 3 หมายถึง เป็นมาตรการเตรียมพร้อมรักษาความปลอดภัย ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากภัยคุกคามค่อนข้างแน่นอนและเจาะจง และเป็นระดับที่จะต้องใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกันเป็นการเฉพาะเพิ่มเติมในช่วงระยะเวลาที่จำกัด โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือเกิดภัยคุกคาม แม้ว่าจะไม่สามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน

            ข้อ 23
ท่าเรือต้องดำเนินการควบคุมและปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนระดับการรักษาความปลอดภัยที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีกำหนดหรือให้คำแนะนำ

      

 

 


bottom

top

Latest News

Popular


bottom