.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม



 พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
(พืชรวมถึง สาหร่าย รับจดทะเบียนคุ้มครองพืชที่ปรับปรุงพันธุ์และพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น)


ฉบับเต็ม คลิกที่นี่


          พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเล คือ


         มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

         “พืช” หมายความว่า สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชและให้หมายความรวมถึงเห็ด และสาหร่ายแต่ไม่รวมถึงจุลชีพอื่น

         “พันธุ์พืช หมายความว่า กลุ่มของพืชที่มีพันธุกรรมและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สม่ำเสมอ คงตัว และแตกต่างจากกลุ่มอื่นในพืชชนิดเดียวกัน และให้หมายความรวมถึงต้นพืชที่จะขยายพันธุ์ให้ได้กลุ่มของพืชที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น


         มาตรา 12 พันธุ์พืชที่จะขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

         (1) เป็นพันธุ์พืชที่ ไม่มีการนำส่วนขยายพันธุ์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นการขายหรือจำหน่ายด้วย ประการใด ทั้งในหรือนอกราชอาณาจักรโดยนักปรับปรุงพันธุ์ หรือด้วยความยินยอมของนักปรับปรุงพันธุ์เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันยื่นขอจด ทะเบียน

         (2) มีความแตกต่างจาก พันธุ์พืชอื่นที่ปรากฏอยู่ในวันยื่นขอจดทะเบียน โดยความแตกต่างนั้นเกี่ยวข้องกับลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก การบริโภค เภสัชกรรม การผลิต หรือการแปรรูป และให้หมายความรวมถึงมีความแตกต่างจากพันธุ์พืช ดังต่อไปนี้ด้วย

               (ก) พันธุ์พืชที่ได้รับการจดทะเบียนคุ้มครองไว้แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันยื่นขอจดทะเบียน

               (ข)  พันธุ์พืชที่มีการยื่นขอจดทะเบียนในราชอาณาจักรไว้แล้ว และได้รับการจดทะเบียนในเวลาต่อมา


            มาตรา 33 ผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชใหม่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ขาย หรือจำหน่ายด้วยประการใด นำเข้ามาในราชอาณาจักร ส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือมีไว้เพื่อกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของ พันธุ์พืชใหม่

            ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้ บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้

            (1) การกระทำเกี่ยวกับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครอง โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นส่วนขยายพันธุ์

            (2)  การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครองเพื่อปรับปรุงพันธุ์ หรือพัฒนาพันธุ์พืช

            (3)  การกระทำเกี่ยวกับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครองซึ่งกระทำโดยสุจริต

            (4)  การเพาะปลูกหรือขยายพันธุ์สำหรับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครองโดย เกษตรกรด้วยการใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ตนเองเป็นผู้ผลิต แต่ในกรณีที่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกาศให้พันธุ์พืชใหม่ นั้นเป็นพันธุ์พืชที่ควรส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์ให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูก หรือขยายพันธุ์ได้ไม่เกินสามเท่าของปริมาณที่ได้มา

            (5)  การกระทำเกี่ยวกับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครอง โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า

            (6)  การขายหรือจำหน่ายด้วยประการใด นำเข้ามาในราชอาณาจักร ส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือมีไว้เพื่อกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว ซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครองซึ่งถูกนำออก จำหน่าย โดยผู้ทรงสิทธิหรือด้วยความยินยอมของผู้ทรงสิทธิ


            มาตรา 36  เมื่อมีความจำเป็นในการป้องกันรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพ การรักษาสวัสดิภาพของประชาชน การรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศห้ามมิให้ผลิต ขายหรือจำหน่ายด้วยประการใด นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกนอกราชอาณาจักรซึ่งพันธุ์พืชใหม่เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน ประกาศได้

            เพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงของประเทศ ในการรักษาความมั่นคงทางอาหาร การป้องกันการผูกขาดทางการค้า หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจออกประกาศอนุญาตให้บุคคลทั่วไป ให้กระทำการตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่งได้ โดยต้องเสียค่าตอบแทนที่เหมาะสมแก่ผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชใหม่ ประกาศดังกล่าวจะต้องกำหนดระยะเวลาอนุญาตให้กระทำการและกำหนดอัตราค่าตอบแทน ไว้ด้วย

            หลังจากที่ได้ดำเนินการตามความในวรรคสองแล้ว แต่ยังปรากฏว่าไม่สามารถป้องกันหรือบรรเทาเหตุตามวรรคสองได้อย่างมี ประสิทธิผล รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการ จดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่นั้นได้


            มาตรา 43 พันธุ์พืชที่จะขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นตามพระราชบัญญัติ นี้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

            (1)  เป็นพันธุ์พืชที่มีอยู่เฉพาะในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งภายในราชอาณาจักรเท่า นั้น

            (2)  เป็นพันธุ์พืชที่ไม่เคยจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่


            มาตรา 47 เมื่อได้จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นของชุมชนใดแล้วให้ ชุมชนนั้นมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย ผลิต ขาย ส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือจำหน่ายด้วยประการใดซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ทั้งนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ที่ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้น เมืองเฉพาะถิ่นเป็นผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นนั้นแทนชุมชน ดังกล่าว

 



bottom

top

Latest News

Popular


bottom