พิมพ์


พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล พ.ศ. 2530

 

ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

              พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ ทะเลคือ


              มาตรา 5  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน*มีอำนาจประกาศ

              (1)  กำหนดหรือยกเลิกเขตที่ตั้งและเขตปลอดภัยของสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล

              (2)  กำหนดหรือยกเลิกเขตท่อรวมทั้งอุปกรณ์ของท่อที่ใช้ในกระบวนการผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเลที่อยู่นอกเขตปลอดภัย

              การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา


              มาตรา 6 
สถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเลและเขตปลอดภัยให้ถือว่าอยู่ในราชอาณาจักรการ กระทำความผิดตามกฎหมายไทยที่เกิดขึ้นบน เหนือ หรือใต้สถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล หรือในเขตปลอดภัย ให้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร

              ให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้ง ปวงตามวรรคสอง พนักงานสอบสวนท้องที่ใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนให้เป็นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด


              มาตรา 7
  ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจสืบสวนสอบสวนเบื้องต้น เพื่อป้องกันและระงับการกระทำที่เป็นการก่อวินาศกรรมสถานที่ผลิตปิโตรเลียม ในทะเล


              มาตรา 8  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 7 ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำที่ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่ได้กระทำ บน เหนือ หรือ ใต้สถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล หรือในเขตปลอดภัยตามความผิดดังต่อไปนี้

              (1)  ความผิดเกี่ยวกับการปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 136 ถึงมาตรา 146

              (2)  ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 209 ถึงมาตรา 216

              (3)  ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 217 ถึงมาตรา 226 และมาตรา  231

              (4)  ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290 และมาตรา 295 ถึงมาตรา 298

              (5)  ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 313 ถึงมาตรา 315 และมาตรา 322 ถึงมาตรา 324

              (6)  ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 มาตรา 335 มาตรา 336 ถึงมาตรา 339 มาตรา 340 มาตรา 340 ตรี มาตรา 357 ถึงมาตรา 360 มาตรา 362 มาตรา 364 และมาตรา 365


              มาตรา 9  การเดินเรือในเขตปลอดภัยต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมเชื้อเพลิง ธรรมชาติ* หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ*มอบหมาย เว้นแต่มีความจำเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรือประสบภยันตรายร้ายแรง

              ในการอนุญาตนั้น จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดด้วยก็ได้

              ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่เรือของทางราชการ เรือของผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมในเขตท้องที่นั้น และเรือของผู้รับจ้างซึ่งได้ทำสัญญาจ้างเหมากับผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมใน เขตท้องที่นั้น


              มาตรา 10
  ในกรณีที่มีการประกาศกำหนดเขตท่อรวมทั้งอุปกรณ์ของท่อที่ใช้ในกระบวนการผลิต ปิโตรเลียมตามมาตรา 5 (2) หรือมีการประกาศกำหนดเขตระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อตามกฎหมายว่าด้วยการ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ห้ามมิให้ผู้ใดทอดสมอเรือหรือเกาสมอหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาจ เป็นอันตรายต่อท่อที่ใช้ในกระบวนการผลิตปิโตรเลียม หรือท่อที่ใช้ในระบบการขนส่งปิโตรเลียมจากสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเลมาถึง ชายฝั่งหรือท่อที่ใช้หรือเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตปิโตรเลียมซึ่งเชื่อม โยงกันระหว่างสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเลที่อยู่นอกเขตปลอดภัยรวมทั้ง อุปกรณ์ของท่อดังกล่าว

              ห้ามมิให้ผู้ใดเดินเรือข้ามท่อหรืออุปกรณ์ของท่อตามวรรคหนึ่ง โดยมิได้ชักสมอขึ้นพ้นจากน้ำจนแลเห็นได้

              การกระทำผิดตามมาตรานี้ให้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร

              ในการสอบสวนการกระทำความผิดตามมาตรานี้ ให้นำความในมาตรา 6 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม


              มาตรา12  ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจสั่งหรือบังคับให้เรือหรืออากาศยานที่ใช้หรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะใช้หรือได้ใช้ในการก่อวินาศกรรมสถานที่ผลิต ปิโตรเลียมในทะเลหรือเรือหรืออากาศยานที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือมีเหตุ อันควรสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 8 หรือเรือที่ฝ่าฝืนหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ฝ่าฝืนมาตรา 9 หรือมาตรา 10 หยุดหรือไปยังที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือลงยังสนามบิน หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวแห่งใดแห่งหนึ่ง

              ในกรณีจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจใช้อาวุธประจำเรือหรืออากาศยานบังคับได้


              มาตรา13  เมื่อ เจ้าหน้าที่ทหารเรือสั่งหรือบังคับให้เรือหรืออากาศยานหยุดหรือไปยังที่แห่ง ใดแห่งหนึ่ง หรือลงยังสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวแห่งใดแห่งหนึ่งตามมาตรา 12 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจปฏิบัติต่อเรือหรืออากาศยาน ผู้ควบคุมเรือหรืออากาศยาน และบุคคลในเรือหรืออากาศยานดังต่อไปนี้

              (1)  ตรวจและค้นเรือหรืออากาศยาน

              (2)  สอบสวนผู้ควบคุมเรือหรืออากาศยานและบุคคลในเรือหรืออากาศยาน

              (3)  ถ้าการตรวจค้นเรือหรืออากาศยานหรือการสอบสวนมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการก่อ วินาศกรรม หรือได้มีการก่อวินาศกรรม หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา 8 หรือฝ่าฝืนมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดนั้นไว้เพื่อ สอบสวนตลอดจนยึดเรือหรืออากาศยาน และสิ่งของที่จะใช้หรือได้ใช้ในการกระทำความผิด

              ห้ามมิให้ควบคุมเรือหรืออากาศยาน ผู้ควบคุมเรือหรืออากาศยานหรือบุคคลในเรือหรืออากาศยาน เกินความจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี


              มาตรา14
ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจไล่ติดตามเรือต่างประเทศได้ เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเรือนั้นได้ใช้ในการก่อวินาศกรรมสถานที่ผลิต ปิโตรเลียมในทะเลหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 8 หรือฝ่าฝืนมาตรา 9 หรือมาตรา 10

              เรือรบหรืออากาศยานทหาร หรือเรือหรืออากาศยานที่ทางราชการนำมาใช้ในราชการของรัฐบาลที่มีเครื่องหมาย ชัดแจ้งและได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการทหารเรือหรือผู้ซึ่งผู้บัญชาการทหาร เรือมอบหมายเพื่อการไล่ติดตามเท่านั้นที่จะใช้สิทธิไล่ติดตามได้

              การมอบหมายตามวรรคสองจะทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา หรือจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้


              มาตรา 15
  การไล่ติดตามโดยเรือรบหรือเรือตามมาตรา 14 วรรคสอง ต้องเป็นไปเพื่อบังคับให้เรือนั้นหยุดหรือไปยังที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

              (1)  การไล่ติดตามจะเริ่มต้นได้ในเมื่อเรือต่างประเทศ หรือเรือเล็กลำใดลำหนึ่งของเรือต่างประเทศ หรือเรืออื่นที่ทำงานร่วมกับเรือต่างประเทศโดยใช้เรือต่างประเทศเป็นเรือพี่ เลี้ยงอยู่ภายในเขตปลอดภัย

              (2)  เรือที่ไล่ติดตามได้ให้สัญญาณหยุดที่เห็นได้ด้วยตา หรือฟังได้ด้วยหูในระยะทางที่เรือต่างประเทศจะสามารถเห็นหรือได้ยินสัญญาณ ได้ แต่ไม่จำเป็นว่าในขณะที่มีคำสั่งให้หยุดเรือที่ออกคำสั่งจะต้องอยู่ภายในเขต ทางทะเลของราชอาณาจักร

              (3)  การไล่ติดตามสามารถกระทำต่อไปได้ถึงภายนอกเขตทางทะเลของราชอาณาจักร ถ้าการไล่ติดตามนั้นมิได้ขาดตอนลง แต่จะต้องสิ้นสุดลงทันทีที่เรือที่ถูกไล่ติดตามนั้นเข้าไปในทะเลอาณาเขตของ ประเทศอื่น


              มาตรา 17
  ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน เจ้าหน้าที่ทหารเรือหรือพนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมเรือที่ถูกควบคุมผ่านเขต เศรษฐกิจจำเพาะไม่ว่าจะเป็นของประเทศใด หรือทะเลหลวงไปยังที่ใดที่หนึ่งได้ โดยไม่ก่อให้เกิดสิทธิร้องขอให้ปล่อยเรือที่ถูกควบคุมนั้น