.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม


พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469
(ป้องกันการเลี่ยงภาษีศุลกากรในเขตต่อเนื่อง)


ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

               พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเลคือ


               มาตรา 15
  พนักงานศุลกากรอาจขึ้นไปบนเรือลำใดๆ ก็ได้ภายในพระราชอาณาเขต และอาจอยู่ในเรือนั้นได้ตลอดเวลาที่ทำการบรรทุกสินค้าลงหรือขนสินค้าขึ้น หรือจนกว่าเรือนั้นออกไป ไม่ว่าในที่ส่วนใดๆ ของเรือ และไม่ว่าในเวลาใดๆ ให้พนักงานศุลกากรเข้าถึงและตรวจค้นได้ และอาจตรวจดูสมุดหนังสือหรือบันทึกเรื่องราว หรือเอกสารไม่ว่าอย่างใดๆ ที่เกี่ยวกับสินค้าในเรือได้ อาจสั่งให้เปิดห้องส่วนใดๆ ของเรือ หรือให้เปิดหีบห่อ หรือที่บรรจุของอย่างใดๆ ได้ หรือถ้าจำเป็นจะให้หักเปิดสิ่งนั้นๆ ก็ได้ อาจประจำเครื่องหมายหรือประทับตรา หรือลั่นกุญแจ หรือผูกมัดของใดๆ ที่อยู่ในเรือ หรือที่ใด หรือหีบห่อใดๆ ก็ได้ และถ้าเครื่องหมาย ดวงตรา กุญแจ หรือเครื่องผูกมัดนั้นได้มีผู้ถอนไป หรือเปิดออก หรือหักต่อย หรือเปลี่ยนแปลงไปโดยจงใจไซร้ ท่านว่านายเรือมีต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท


               มาตรา 15 ทวิ 
ผู้ใดขึ้นไปบนเรือเดินต่างประเทศขณะที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

               ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่นายเรือ ลูกเรือ ผู้โดยสารและผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติบนเรือนั้น


               มาตรา 18 
พนักงานศุลกากรอาจตรวจค้นบุคคลใดๆ ในเรือกำปั่นลำใดๆ ในเขตท่า หรือบุคคลที่ขึ้นจากเรือกำปั่นลำใดๆ ก็ได้ แต่ต้องมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าบุคคลนั้นๆ มีหรือพาไปกับตนซึ่งของอันยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม จึงให้ตรวจค้นได้ อนึ่ง ก่อนที่จะตรวจค้นบุคคลผู้ใด บุคคลผู้นั้นอาจร้องขอให้นำตนอย่างเร็วตามควรแก่เหตุไปยังพนักงานศุลกากร ผู้ใหญ่มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าสารวัตรหรือนายด่าน นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือหัวหน้าสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด ส่วนพนักงานที่มีผู้นำบุคคลเช่นนี้มาส่งนั้นจะต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุอันควร สงสัยเพียงพอ หรือไม่ และจะควรให้ตรวจค้นหรือไม่ถ้าบุคคลนั้นเป็นหญิงก็ให้ใช้หญิงเป็นผู้ตรวจค้น

               ถ้าพนักงานผู้ใดตรวจค้นบุคคลใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ท่านว่าพนักงานผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท


               มาตรา 23
  ถ้าเรือลำใดที่จะพึงต้องถูกยึดหรือตรวจตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่หยุดลอยลำเมื่อได้สั่งให้หยุด และมีเรือในราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือของกรมศุลกากร ชักธงหมายตำแหน่งธงหมายราชการไล่ติดตามไป เมื่อได้ให้ยิงปืนเป็นอาณัติสัญญานัดหนึ่งก่อนแล้ว ท่านว่าพนักงานควบคุมเรือที่ไล่ติดตามนั้น มีอำนาจตามกฎหมายที่จะยิงเรือซึ่งกำลังหนีนั้นได้


               มาตรา 24 
สิ่งใดๆ อันจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ มีอำนาจยึดในเวลาใดๆ และ ณ ที่ใดๆ ก็ได้

               สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด หกสิบวัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด หรือสามสิบวันสำหรับสิ่งอื่น นับแต่วันที่ยึด ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ และ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยมิพักต้องคำนึงว่าจะมีการฟ้องคดีอาญานั้นหรือไม่


               มาตรา 29
  ถ้าปรากฏว่าเรือลำใดมีที่ปิดบังหรือที่พราง หรือเครื่องกลอุบายอย่างใดๆ ทำขึ้นไว้เพื่อลักลอบหนีศุลกากร ท่านว่า นายเรือ นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท แต่นายเรือไม่พึงต้องรับโทษ นอกจากจะมีเหตุอันควรเชื่อว่าได้ละเลยไม่ระวังให้เข้มงวดตามควรที่จะป้องกัน หรือว่าได้เกี่ยวข้อง หรือรู้เห็นด้วยในการสร้าง หรือทำ หรือวาง หรือใช้ที่ หรือเครื่องกลอุบายนั้นๆ อนึ่ง  ที่หรือเครื่องกลอุบายนี้ให้ทำลายเสีย หรือทำเสียให้เป็นของไร้โทษทุจริตจนเป็นที่พอใจของพนักงานเจ้าหน้าที่


               มาตรา 30
  ถ้าปรากฏว่าเรือลำใดมีของเป็นหีบห่อซึ่งมีขนาด หรือลักษณะขัดต่อบทพระราชบัญญัตินี้ หรือบทกฎหมาย หรือประกาศอื่น ท่านว่านายเรือมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และของนั้นให้ริบเสีย


               มาตรา 32
  เรือชนิดใดๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตัน รถ เกวียน ยานพาหนะ หีบห่อ หรือภาชนะใดๆ หากได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่มิได้เสียค่าภาษีหรือที่ต้องจำกัดหรือต้องห้าม ให้ริบเสียสิ้น โดยไม่พักต้องคำนึงว่าบุคคลผู้ใดจะต้องรับโทษหรือไม่ และถ้ามีของอื่นรวมอยู่ในหีบห่อหรือภาชนะอื่น หรือในเรือ รถ เกวียน หรือยานพาหนะอันปรากฏว่ามีของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือที่ต้องจำกัดหรือ ต้องห้าม ก็ให้ริบของนั้นๆ เสียดุจกัน

               ถ้าเรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำตามวรรคหนึ่งมีระวางบรรทุกเกินสอง ร้อยห้าสิบตันให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเรือนั้นได้ตามควรแก่การกระทำความผิด


               มาตรา 37 ทวิ
  เรือทุกลำที่เข้ามาหรือหยุดลอยลำหรือจอดเรือในเขตต่อเนื่องต้องตอบคำถามใดๆ ของพนักงานศุลกากรเกี่ยวแก่เรือ คนประจำเรือ คนโดยสาร การเดินทาง ลักษณะของสินค้าในเรือ และสิ่งที่นำมาในเรือตามที่พนักงานศุลกากรถาม และต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันควรของพนักงานศุลกากร ถ้านายเรือไม่ตอบคำถามหรือไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท


               มาตรา 37 ตรี 
ห้ามมิให้เรือที่อยู่ในเขตต่อเนื่องขนถ่ายสิ่งของใดๆ โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้านายเรือหรือบุคคลใดฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับเป็นเงินสองเท่าของราคาของหรือปรับเป็นเงินห้าหมื่นบาทแล้วแต่จำนวน ใดจะมากกว่า หรือทั้งจำทั้งปรับ

               ของใดๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรานี้ให้ริบเสียสิ้นโดยไม่พักต้องคำนึงถึงว่าบุคคลผู้ใดจะต้องรับโทษหรือไม่


               มาตรา 37 จัตวา
  ให้นำความในมาตรา 15 มาตรา 15 ทวิ มาตรา 18 มาตรา 20 มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 32 มาตรา 32 ทวิ และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 และบทกำหนดโทษอันเกี่ยวกับบทบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับในเขตต่อเนื่องโดยอนุโลม


               มาตรา 37 เบญจ
  ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการลักลอบหรือจะลักลอบหนีศุลกากรหรือมีการ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในเขตต่อเนื่อง ให้พนักงานศุลกากรมีอำนาจสั่งหรือบังคับให้นายเรือหยุดหรือนำเรือไปยังที่ แห่งหนึ่งแห่งใด เพื่อการตรวจค้นจับกุมหรือดำเนินคดีได้

               เมื่อพนักงานศุลกากรได้จับผู้ต้องหาและส่งให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ใดแล้ว ให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่นั้นมีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอคำสั่งแต่งตั้ง พนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบจากอัยการสูงสุด หรือผู้รักษาการแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาส่งให้พนักงานสอบสวนดังกล่าว เป็นเวลาควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา


               มาตรา 37 ฉ 
ในหมวดนี้

               “พื้นที่พัฒนาร่วม” หมายความว่า พื้นที่พัฒนาร่วมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย

               “ของ ที่ได้รับความเห็นชอบทางศุลกากร” หมายความว่า ของที่ได้รับยกเว้นอากรศุลกากร ทั้งตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทยและมาเลเซียที่เกี่ยวกับศุลกากร


               มาตรา 37 สัตต
  การจัดระเบียบการเคลื่อนย้ายของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปจากพื้นที่พัฒนา ร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา


               มาตรา 37 อัฏฐ
  ภายใต้บังคับมาตรา 37 นว มาตรา 37 ทศ และมาตรา 37 เตรส (4)  กรมศุลกากรยังคงใช้อำนาจทางศุลกากรทั้งปวงที่เกี่ยวกับของที่นำเข้ามาในหรือ ส่งออกไปจากพื้นที่พัฒนาร่วม


               มาตรา 37 นว 
การเคลื่อนย้ายของใดๆ เข้ามาในหรือส่งออกไปจากพื้นที่พัฒนาร่วม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้

               (1) ของใดๆ ที่เข้ามาในพื้นที่พัฒนาร่วมจาก

                              (ก) ประเทศอื่นใดนอกจากราชอาณาจักรไทยหรือมาเลเซีย คลังสินค้าใดๆ ที่ได้รับใบอนุญาต หรือบริเวณทัณฑ์บนของราชอาณาจักรไทยหรือมาเลเซีย ให้ถือว่าเป็นของนำเข้า

                              (ข) ราชอาณาจักรไทยหรือมาเลเซีย ให้ถือว่าเป็นการเคลื่อนย้ายภายในประเทศ ทั้งนี้ ของนั้นจะต้องเป็นของที่ได้รับความเห็นชอบทางศุลกากร เครื่องมือเครื่องใช้ และวัสดุสิ่งของสำหรับใช้ในพื้นที่พัฒนาร่วม

               (2) ของที่ผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย หรือไปยังมาเลเซีย หรือประเทศ ที่สาม ให้ถือว่าเป็นของส่งออก

               (3) ของที่เคลื่อนย้ายเข้าไปในพื้นที่พัฒนาร่วมตาม (1) (ข) และต่อมาของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรไทยหรือมาเลเซีย ให้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายของราชอาณาจักรไทยหรือมาเลเซีย แล้วแต่กรณี


               มาตรา 37 ทศ 
ของใดๆ ที่จัดอยู่ในบัญชีของต้องห้ามตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปในพื้นที่พัฒนาร่วม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะต้องมีการยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับการนำเข้ารายใด รายหนึ่งโดยเฉพาะ การยกเว้นนั้นจะกระทำได้ก็ด้วยความตกลงระหว่างหน่วยงานที่มีอำนาจของราช อาณาจักรไทยและมาเลเซีย


               มาตรา 37 เอกาทศ 
การนำเข้า การส่งออก และการเคลื่อนย้ายภายในสำหรับของในพื้นที่พัฒนาร่วมให้ใช้แบบศุลกากรตามที่อธิบดีประกาศกำหนด


               มาตรา 37 ทวาทศ
  พนักงานและพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจในส่วนที่เกี่ยวกับการผ่านพิธีการ ศุลกากร รวมทั้งการเก็บภาษีอากรในเรื่องที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และใช้อำนาจนั้นได้ภายในบริเวณที่ทำการศุลกากรร่วม

               คำ ว่า “ที่ทำการศุลกากรร่วม”  หมายความว่า ที่ทำการของคณะกรรมการศุลกากรร่วม ที่จัดตั้งขึ้นในสำนักงานใหญ่ขององค์กรร่วม เพื่อวัตถุประสงค์ของการประสานงานด้านการดำเนินการตามกฎหมายศุลกากรและสรรพ สามิตในพื้นที่พัฒนาร่วม

               คำ ว่า “คณะกรรมการศุลกากรร่วม”  หมายความว่า คณะกรรมการที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานศุลกากรและสรรพสามิตของมาเลเซีย ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการประสานงานด้านการดำเนินการตามกฎหมาย ศุลกากรและสรรพสามิตในพื้นที่พัฒนาร่วม

               การกระทำที่ได้ทำลงในพื้นที่พัฒนาร่วม

               (1) หากการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวกับศุลกากรของราชอาณาจักรไทย หรือมาเลเซีย ประเทศใดประเทศหนึ่ง ประเทศที่มีการอ้างว่ากฎหมายของตนถูกละเมิดมีสิทธิเข้าใช้เขตอำนาจเหนือความ ผิดนั้น

               (2) หากการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวกับศุลกากรของราชอาณาจักรไทย และมาเลเซีย ประเทศที่เจ้าพนักงานของตนเป็นผู้ทำการจับกุมหรือยึดเป็นคนแรกในส่วนที่ เกี่ยวกับความผิดดังกล่าวมีสิทธิเข้าใช้เขตอำนาจเหนือความผิดนั้น

               (3) หากการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวกับศุลกากรของราชอาณาจักรไทย และมาเลเซีย และเป็นกรณีที่มีการจับกุมหรือยึดพร้อมๆ กันโดยกรมศุลกากรและหน่วยงานศุลกากรและ สรรพสามิตของมาเลเซีย ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดดังกล่าว ประเทศที่มีสิทธิเข้าใช้เขตอำนาจเหนือความผิดนั้นให้กำหนดโดยการหารือ ระหว่างกรมศุลกากร และหน่วยงานศุลกากรและสรรพสามิตของมาเลเซีย

               (4) เงินที่ได้จากการขายของซึ่งเป็นผลิตผลของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ถูกริบ ให้แบ่งเท่าๆ กัน ระหว่างราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย

               เพื่อประโยชน์แห่งหมวดนี้ คำว่า “พระราชอาณาจักรสยาม” “พระราชอาณาเขต” และ “ราชอาณาจักร” ในพระราชบัญญัตินี้ให้หมายความถึง “พื้นที่พัฒนาร่วม”

               ให้ศาลภาษีอากรกลาง ศาลจังหวัดสงขลา หรือศาลอาญา มีเขตอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีศุลกากรที่เกี่ยวกับพื้นที่พัฒนาร่วม



bottom

top

Latest News

Popular


bottom