พิมพ์
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523
(ควบคุมโรคในเขตต่อเนื่อง)


ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

                พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ ทะเลคือ


                มาตรา 5
  โรคใดจะเป็นโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย หรือโรคติดต่อต้องแจ้งความ ให้รัฐมนตรีประกาศชื่อและอาการสำคัญของโรคไว้ในราชกิจจานุเบกษา


                มาตรา 8
  เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุขว่าได้เกิด หรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายอย่างใดเกิดขึ้นในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใด ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจที่จะดำเนินการเอง ประกาศหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการดังต่อไปนี้ได้

                (1)  ให้คนหรือสัตว์ซึ่งป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่ออันตราย เป็นผู้สัมผัสโรค หรือเป็นพาหะของโรคติดต่ออันตราย มารับการตรวจ การชันสูตรทางแพทย์ หรือการรักษา หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด

                ในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่า คนซึ่งป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าป่วยเป็นโรคอยู่ในภาวะซึ่งอาจเป็นเหตุให้เชื้อ โรคแพร่หลายจนเป็นอันตรายร้ายแรงแก่ประชาชนได้ ให้มีอำนาจแยกกักผู้นั้นไปรับการรักษาในสถานพยาบาลหรือในที่เอกเทศ จนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือหมด เหตุสงสัย

                (2)  กักกันหรือคุมไว้สังเกตซึ่งคนหรือสัตว์ซึ่งเป็นหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็นผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ

                (3)  ให้คนหรือสัตว์รับการป้องกัน ตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด

                (4)  ดำเนินการหรือให้เจ้าของหรือผู้อยู่ในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใดที่โรคติดต่ออันตรายได้เกิดขึ้นจัดการกำจัดความติดโรคหรือทำลาย สิ่งใดๆ หรือสัตว์ที่มีเหตุเชื่อได้ว่าเป็นสิ่งติดโรค จนกว่าเจ้าพนักงานสาธารณสุขจะเห็นว่าปราศจากความติดโรคและได้ถอนคำสั่งนั้น แล้ว

                (5)  ดำเนินการหรือให้เจ้าของหรือผู้อยู่ในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใดที่โรคติดต่ออันตรายได้เกิดขึ้น จัดการ แก้ไข ปรับปรุงการสุขาภิบาล หรือรื้อถอนสิ่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะหรือจัดให้มีขึ้นใหม่ให้ถูกสุขลักษณะ

                (6)  ให้นำศพหรือซากสัตว์ซึ่งปรากฏหรือมีเหตุสงสัยว่าตายด้วยโรคติดต่ออันตรายไป รับการตรวจ หรือจัดการทางแพทย์ หรือจัดการแก่ศพหรือซากสัตว์นั้นด้วยประการอื่นใด เพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

                (7)  ดำเนินการหรือกำหนดให้ปฏิบัติการเพื่อป้องกัน กำจัด สัตว์หรือแมลง หรือตัวอ่อนของแมลงที่เป็นเหตุให้เกิดโรค

                (8)  ดำเนินการหรือกำหนดให้ปฏิบัติในการ ทำ ประกอบ ปรุง จับต้อง บรรจุ เก็บ สะสม จำหน่ายอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่มหรือน้ำเพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

                (9)  จัดหาและให้เครื่องอุปโภคบริโภค รวมทั้งเวชภัณฑ์หรือเคมีภัณฑ์ เพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

                (10)  จัดหาน้ำที่ถูกสุขลักษณะไว้ในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะ

                (11)  ห้ามกระทำการใดๆ อันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดภาวะไม่ถูกสุขลักษณะแก่ถนนหนทาง บ้าน โรงเรือน สถานที่ พาหนะ หรือที่สาธารณะอื่นใด

                (12)  ห้ามกระทำการใดๆ อันอาจจะเป็นเหตุให้โรคแพร่หลาย


                มาตรา 10  เมื่อมีโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้นในท้องที่ใด

                รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเฉพาะในเขตของตน มีอำนาจประกาศโดยระบุชื่อและอาการสำคัญของโรค ตำบล หมู่บ้านหรือสถานที่ใดเป็นเขตติดโรค และจะกำหนดปริมณฑลโดยรอบไว้เป็นเขตติดโรคด้วยก็ได้

                เมื่อ ได้มีประกาศดังกล่าวแล้ว ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจดำเนินการเอง ประกาศหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการใดๆ ในเขตหรือในบริเวณปริมณฑลนั้น ดังต่อไปนี้

                (1)  ปฏิบัติการใดๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8

                (2)  ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากเขตติดโรค หรือที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข

                (3)  เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะใด ที่เกิดหรือมีเหตุสงสัยว่าเกิดโรคได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าแต่ ต้องกระทำในภาวะอันสมควร

                (4)  รื้อถอน ทำลาย หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น ซึ่งบ้าน โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง สถานที่ พาหนะ หรือสิ่งของใดๆ เพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

                (5)  ปิดตลาด โรงมหรสพ สถานศึกษา สถานที่ประกอบหรือจำหน่ายอาหารสถานที่ผลิตหรือจำหน่ายเครื่องดื่ม โรงงาน สถานที่ชุมนุมชน หรือสถานที่อื่นใดไว้ชั่วคราวตามที่เห็นสมควรเพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

                (6)  ห้ามคนซึ่งป่วยหรือมีเหตุสงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่ออันตราย ประกอบอาชีพใดๆ หรือเข้าไปในสถานศึกษา สถานที่ชุมนุมชน หรือสถานที่อื่นใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข

                เมื่อโรคติดต่ออันตรายที่เกิดขึ้นสงบลงแล้ว และรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นเป็นการสมควรก็ให้ถอนประกาศนั้น


                มาตรา 11
  เมื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความเกิดขึ้นในบ้าน โรงเรือน สถานที่พาหนะ หรือท้องที่ใด ถ้าเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าโรคติดต่อดังกล่าวจะระบาดต่อไป ให้มีอำนาจปฏิบัติการใดๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 และมาตรา 10 ได้ โดยอนุโลม


                มาตรา 13  ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศให้ช่องทางและด่านตรวจคนเข้า เมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เมื่อมีเหตุอันสมควรให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อ ระหว่างประเทศมีอำนาจ ดังต่อไปนี้

                (1)  ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้นๆ จะเข้ามาถึงท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบก ต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

                (2)  ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรยื่นเอกสารต่อเจ้า พนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

                (3)  ห้ามผู้ใดนำพาหนะอื่นใดเข้าเทียบพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยัง ไม่ได้รับการตรวจจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข และห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อ ระหว่างประเทศ

                (4)  เข้าไปในพาหนะและตรวจผู้เดินทาง สิ่งของหรือสัตว์ที่มากับพาหนะ ตรวจตราและควบคุมให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการสุขาภิบาลของ พาหนะให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งกำจัดสิ่งอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในพาหนะ ในการนี้ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะอำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงาน สาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ

                (5)  ห้ามเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะนำผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศเข้ามาในราชอาณาจักร

                (6)  ตรวจตรา ควบคุม ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบท่าอากาศยาน ท่าเรือหรือท่าขนส่งทางบก แก้ไขการสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งกำจัดสิ่งอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในสถานที่และบริเวณดังกล่าว

                (7)  ตรวจตรา ควบคุม ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบกทำการควบคุม กำจัดยุง และพาหะนำโรค ในสถานที่และบริเวณรอบท่าอากาศยาน ท่าเรือหรือ ท่าขนส่งทางบก  ในรัศมีสี่ร้อยเมตร ในการนี้ ให้เจ้าของหรือผู้อยู่ในบ้าน โรงเรือน หรือสถานที่ในบริเวณดังกล่าวอำนวยความสะดวกในการควบคุมกำจัดยุงและพาหะนำโรค

                (8)  ตรวจตรา ควบคุมการสุขาภิบาลเกี่ยวกับอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่มหรือน้ำให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่ ทำ ประกอบ ปรุง จับต้อง บรรจุ เก็บ สะสม จำหน่ายอาหาร น้ำแข็งเครื่องดื่ม หรือน้ำที่นำเข้าไป หรือจะนำเข้าไปในบริเวณท่าอากาศยาน ท่าเรือ หรือท่าขนส่งทางบกให้ถูกสุขลักษณะ หรือแก้ไขการสุขาภิบาลเกี่ยวกับอาหาร น้ำแข็ง เครื่องดื่มหรือน้ำ ตลอดถึงสถานที่ดังกล่าวให้ถูกสุขลักษณะ


                มาตรา 14  เมื่อมีโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้นในท้องที่หรือเมืองท่าใดในต่างประเทศ ให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่า นั้นเป็นเขตติดโรค เมื่อได้ประกาศแล้วให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศมีอำนาจดำเนินการเอง หรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราช อาณาจักรจากท้องที่หรือเมืองท่านั้น ดำเนินการดังต่อไปนี้

                (1)  ดำเนินการหรือกำหนดให้ปฏิบัติการใดๆ เพื่อกำจัดความติดโรค และเพื่อป้องกันการแพร่หลายของโรค

                (2)  จัดให้พาหนะจอดอยู่ ณ สถานที่ที่กำหนดให้จนกว่าเจ้าพนักงานสาธารณสุขจะอนุญาตให้ไปได้

                (3)  ให้ผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้นรับการตรวจในทางแพทย์ และอาจให้แยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ณ สถานที่ที่กำหนดให้

                (4)  ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น หรือที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข

                (5)  ห้ามผู้ใดนำเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม หรือ น้ำใช้ซึ่งเป็นหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็นสิ่งติดโรคเข้าไปในหรือออกจากพาหนะ นั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข