.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม


พระราชบัญญัติให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำผิดบางอย่างทางทะเล พ.ศ. 2490


ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

              พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเลคือ


              มาตรา 4  เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำเกี่ยวกับการนำ ข้าวหรือสินค้าอื่นหรือยาเสพติดออกไปนอกหรือเข้ามาในราชอาณาจักร หรือการที่คนต่างด้าวเข้ามาหรือนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งนี้ โดยทางทะเล ทางลำน้ำซึ่งติดต่อกับต่างประเทศ หรือทางลำน้ำซึ่งออกไปสู่ทะเลได้ หรือทำการประมงทางทะเลอันเป็นความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยการสำรวจและห้ามกักกัน ข้าว กฎหมายว่าด้วยการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่นๆ ในภาวะคับขัน กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า กฎหมายว่าด้วยแร่ กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายเกี่ยวกับการประมง ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจสืบสวนและสอบสวนได้ และมีอำนาจทำการหรือสั่งให้ทำการเฉพาะหน้าเท่าที่จำเป็นดังต่อไปนี้

(1)  ตรวจ ค้น และบังคับผู้ควบคุมเรือและคนประจำเรือให้รื้อหรือขนสิ่งของในเรือเพื่อการตรวจค้น

(2)  จับเรือ และบังคับผู้ควบคุมเรือและคนประจำเรือให้พ่วงเรือ หรือให้ทำการอื่นเพื่อให้เรือนั้นไปยังที่ซึ่งสะดวกแก่การตรวจค้น การสอบสวน หรือการดำเนินคดี

(3)  ยึดเรือที่จับไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหา หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นในกรณีที่ฟ้องผู้ต้องหา

(4)  จับและควบคุมผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อพ้นกำหนดต้องปล่อยหรือส่งตัวให้พนักงานสอบสวนพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวน เท่าที่ทำไว้


              มาตรา 5  เพื่อปฏิบัติการตามความในมาตรา 4 ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจสั่งและบังคับให้ผู้ควบคุมเรือและคนประจำเรือ ลำที่ใช้หรือสงสัยว่าใช้ในการกระทำความผิดหรือที่ความผิดเกิดขึ้นหรือสงสัย ว่าเกิดขึ้น หยุดเรือหรือนำเรือไปยังที่ใดที่หนึ่ง ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ให้มีอำนาจดำเนินการใดๆ เพื่อบังคับให้ปฏิบัติตามหรือเพื่อนำเรือไปหรือเพื่อป้องกันการหลบหนี

การ สั่งหรือบังคับให้หยุดเรือหรือให้นำเรือไปยังที่ใดที่หนึ่งตามความในวรรค ก่อน อาจทำโดยใช้อาณัติสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ แต่อาณัติสัญญาณที่จะใช้นั้น ผู้บัญชาการทหารเรือต้องประกาศกำหนดไว้ในราชกิจจานุเบกษา


              มาตรา 6
  นอกจากอำนาจที่ให้ไว้ตามมาตรา 4 ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้น ผู้ใหญ่ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


              มาตรา 7  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารเรือทำการสอบสวนตามมาตรา 4 ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำนาจและหน้าที่เช่นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา


              มาตรา 8  การแย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารเรือเป็นผู้ส่งสำนวนและมีความเห็นควรสั่งฟ้องไปยัง พนักงานอัยการนั้น ให้ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้ใช้อำนาจของอธิบดีกรมตำรวจหรือข้าหลวงประจำ จังหวัดแล้วแต่กรณี


bottom

top

Latest News

Popular


bottom