พิมพ์
พระราชบัญญัติเพิ่มอำนาจตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางน้ำ
พ.ศ.
2496
(ควบคุมการกระทำผิดในเรือหรืออากาศยานทางน้ำ)


ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

                พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจกรรมการใช้ทะเล คือ


                มาตรา4 ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใน ยานพาหนะ ให้นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรในกองตำรวจน้ำ กรมตำรวจ ทำการค้นได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องมีหมาย


                มาตรา 5 ใน เมื่อมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะมีหรือได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในยาน พาหนะใด ให้นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรในกองตำรวจน้ำ กรมตำรวจ มีอำนาจสั่งห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานที่กฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจ และหน้าที่เกี่ยวกับยานพาหนะขึ้นไป หรือนำเรือ แพ หรือพาหนะชนิดใดๆ เข้าเทียบยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ในการสั่งห้ามเช่นว่านี้ จะต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมยานพาหนะนั้นทราบด้วย

                การสั่งห้ามดั่งกล่าวในวรรคก่อน จะกระทำโดยวิธีใดให้เป็นไปตามระเบียบซึ่งอธิบดีกรมตำรวจกำหนดโดยประกาศในราช กิจจานุเบกษา ในระเบียบเช่นว่านี้จะกำหนดให้ผู้ควบคุมยานพาหนะแสดงเครื่องหมายอย่างใด เพื่อให้ทราบว่าได้มีการห้ามดั่งกล่าวแล้ว ตลอดจนกำหนดวิธีการขออนุญาตและเงื่อนไขในการอนุญาตไว้ด้วยก็ได้


                มาตรา 6 
ในการสั่งให้ผู้ควบคุมยานพาหนะหยุดยานพาหนะ หรือนำยานพาหนะไปยังที่ใด เพราะมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ามีการใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิด หรือมีความผิดเกิดขึ้นในยานพาหนะนั้น นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรในกองตำรวจน้ำ กรมตำรวจ อาจใช้สัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ตามที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และผู้ควบคุมยานพาหนะจะต้องให้ความสะดวกตามสมควรแก่ตำรวจในการที่จะขึ้นไปบน ยานพาหนะนั้น