.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม



the International Union for Conservation of Nature (IUCN)


ได้จำแนกพื้นที่คุ้มครองออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้


I : Strict Nature Reserve / Wilderness Area


Ia : Strict Nature Reserve (แหล่งสงวนธรรมชาติเข้มข้น) : จัดการพื้นที่คุ้มครองเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก

พื้นที่ทางบก และ/หรือ ทางทะเลที่มีระบบนิเวศหรือลักษณะทางธรณีวิทยา หรือลักษณะทางกายภาพ และ/หรือ ชนิดพันธุ์โดดเด่นหรือสามารถเป็นตัวแทน เพื่อศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และ/หรือ การตรวจสอบติดตามผลด้านสภาวะแวดล้อม


Ib : Wilderness Area (พื้นที่ธรรมชาติดั้งเดิม) : จัดการพื้นที่คุ้มครองส่วนใหญ่เพื่อป้องกันสภาพธรรมชาติดั้งเดิม

พื้นที่ทางบก และ/หรือ ทางทะเลที่ไม่เคยถูกเปลี่ยนแปลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก และยังคงความเป็นธรรมชาติและอืทธิพลของธรรมชาติโดยปราศจากการอยู่อาศัยของ มนุษย์อย่างถาวร เพื่อคุ้มครองและจัดการให้คงสภาพความเป็นธรรมชาติต่อไป


II : National Park (อุทยานแห่งชาติ) : จัดการพื้นที่คุ้มครองส่วนใหญ่เพื่อการคุ้มครองป้องกันระบบนิเวศและนันทนาการ

พื้นที่ธรรมชาติทางบก และ/หรือ ทางทะเล จัดตั้งขึ้นเพื่อ

1. การป้องกันรักษาความมั่นคงทางนิเวศของระบบนิเวศในระบบนิเวศใดระบบหนึ่งมากกว่า เพื่อคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต

2. ไม่มีการใช้ประโยชน์หรือเข้าครอบครองที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ

3. เปิดโอกาสให้มีการใช้ประโยชน์ด้านวิจัย ศึกษาหาความรู้ และนันทนาการที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น


III : Natural Monument (อนุสรณ์สถานธรรมชาติ) : จัดการพื้นที่คุ้มครองส่วนใหญ่เพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ

พื้นที่่ที่มีลักษณะเฉพาะทางธรรมชาติ หรือ ธรรมชาติ/วัฒนธรรม หนึ่งอย่างหรือมากกว่าที่มีความโดดเด่นหรือมีความเป็นเอกลักษณ์ เพราะหายากหรือมีความสวยงามหรือมีนัยสำคัญทางวัฒนธรรม


IV : Habitat/Species Management Area (พื้นที่สำหรับจัดการที่อยู่อาศัยและชนิดพันธุ์) : จัดการพื้นที่คุ้มครองส่วนใหญ่เพื่อการอนุรักษ์โดยผ่านขบวนการการจัดการ

พื้นที่ทางบก และ/หรือ ทางทะเลที่ประกาศจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการเพื่อคงไว้ซึ่งถิ่นที่อยู่อาศัย และ/หรือ ชนิดพันธุ์ที่สำคัญ


V : Protected Landscape / Seascape (พื่้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ทางบก/ภูมิทัศน์ทางทะเล) : จัดการพื้นที่คุ้มครงเพื่ออนุรักษ์และนันทนาการภูมิทัศน์บกและทะเล

พื้นที่ทางบก ชายฝั่งทะเล และ/หรือทะเลที่เหมาะสม ซึ่งมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติมาเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดลักษณะเด่นเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ และมีคุณค่าทั้งความงาม นิเวศ และ/หรือคุณค่าทางวัฒนธรรม และมักมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง


VI : Management Resource Protected Area (พื้นที่คุ้มครองแบบมีการจัดการทรัพยากร) : จัดการพื้นที่คุ้มครองส่วนใหญ่เพื่อการใช้ประโยชน์ระบบนิเวศธรรมชาติอย่างยั่งยืน

พื้นที่ที่มีระบบธรรมชาติโดดเด่นไม่ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพ มีการจัดการเพื่อการคุ้มครองระยะยาวและคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ และในขณะเดียวกันเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของผลผลิตทางธรรมชาติและการบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนอย่างยั่งยืน


ที่มา : อนุวัฒน์ นทีวัฒนา, 2551. พื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทย : เป้าหมายปี ค.ศ. 2010/2012 ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ. 239 หน้า



bottom

top

Latest News

Popular


bottom