พิมพ์


พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site)


             พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศเป็นพื้นที่ที่กำหนดขึ้นตามเกณฑ์ของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention) ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ 11 แห่ง และเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในทะเลและชายฝั่งจำนวน 9 แห่ง ดังนี้


พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศบริเวณทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย

พื้นที่
ที่ตั้ง
ขนาดพื้นที่
ตร.กม.
ไร่
1. พรุควนขี้เสียนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
ต.ทะเลน้อย ต.พะนางตุง อ.ควนขนุน
457
285,625
2. พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม
ต.บางจะเกร็ง ต.แหลมใหญ่ ต.บางแก้ว และ ต.คลองโคน
875
546,875
3. พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จ.กระบี่
อ.เมือง จ.กระบี่
212.992
133,120
4. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง)
อ.ตากใบ สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี จ.นราธิวาส
201
125,625

5. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง-ปากแม่น้ำตรัง จ.ตรัง

ต.นาเกลือ ต.ลิบง ต.หาดสำราญ อ.สิเกา อ.ปะเหลียน อ.กันตัง จ.ตรัง
825.192
515,745
6. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์
จ.ระนอง
อ.กะเปอร์ จ.ระนอง และ อ.คุระบุรี จ.พังงา
1,084.200
677,625
7. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี
ต.อ่างทอง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
102
63,750
9. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
กิ่งอำเภอสามร้อยยอด และอำเภอกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
400
250,000
รวมขนาดพื้นที่
4,226.604
2,641,627.500


             เกณฑ์สำหรับกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) สำหรับขึ้นทะเบียนนพื้นชุ่มน้ำระหว่างประเทศ (Ramsar list) ได้แก่ (สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม)


             1. เกณฑ์สำหรับประเมินคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นตัวแทนหรือที่มีเอกลักษณ์ ได้แก่ การเป็นตัวอย่างของพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทที่หายากในเขตชีวภูมิศาสตร์ การเป็นตัวอย่างหรือตัวแทนที่ดีของลักษณะพื้นที่ชุ่มน้ำภายในภูมิภาค การเป็นตัวอย่างของพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สมบูรณ์ มีคุณค่าระดับชาติ มีบทบาทสำคัญทางอุทกวิทยา ชีววิทยา นิเวศวิทยา ในระบบลุ่มน้ำหรือชายฝั่งระหว่างประเทศ การเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีคุณค่าสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมภายใต้กรอบการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน


              2. เกณฑ์สำหรับการใช้พืชหรือสัตว์ในการจำแนกวินิจฉัยพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์สัตว์และพืชที่หายาก มีแนวโน้มสูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์ หรือเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรสัตว์และพืชดังกล่าวหรือมากกว่าหนึ่งชนิดพันธุ์ในจำนวนที่เหมาะสม การมีคุณค่าพิเศษในการดำรงรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและระบบนิเวศในภูมิภาค การมีคุณค่าพิเศษในฐานะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ในช่วงสำคัญของวงจรชีวิต การมีคุณค่าพิเศษสำหรับชนิดพันธุ์หรือสังคมสัตว์หรือพืชเฉพาะถิ่น (endemic species)


              3. เกณฑ์เฉพาะสำหรับการใช้นกน้ำในการจำแนกวินิจฉัยพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรของนกน้ำชนิดใดๆ 20,000 ตัว การเป็นถิ่นที่ยู่อาศัยประจำของนกน้ำชนิดพันธุ์ในกลุ่มสำคัญซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์หรือความหลากหลายของพื้นที่ชุ่มน้ำ การเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยประจำของนกน้ำร้อยละ 1 ของประชากรของชนิดพันธุ์


              4. เกณฑ์เฉพาะสำหรับการใช้พันธุ์ปลาในการจำแนกวินิจฉัยพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์ ชนิดพันธุ์ หรือวงจรชีวิตและมีสัดส่วนของปลาพื้นเมืองที่มีนัยสำคัญหรือประชากรปลาที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือมีคุณค่าต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโลก การเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ แหล่งเพาะพันธุ์วางไข่ แหล่งอนุบาลตัวอ่อน หรือเป็นเส้นทางอพยพของประชากรปลา



ที่มา : อนุวัฒน์ นทีวัฒนา,2551. พื้นที่คุ้มครองทางทะเลในประเทศไทย : เป้าหมายปี ค.ศ. 2010/2012 ภายใต้กฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ.เอกสารเผยแพร่สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฉบับที่ 35 กรมทรัพยากรทางทะเลและชาบฝั่ง.239 หน้า