พิมพ์

 

 

คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (อจชล. เดิม)

 

      สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้นำผลการศึกษาโครงการ “สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเลอย่างยั่งยืน”  เสนอต่อคณะกรรมการรวมพลังขับเคลื่อนสังคมที่มี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการ ข้อเสนอแนะจากโครงการที่สำคัญประการหนึ่งก็คือการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ต่อมาคณะกรรมการดังกล่าวได้นำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2550 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลรับเรื่องไปศึกษาและให้นำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง

      สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ศึกษาและพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี และสรุปว่าเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลที่เสนอให้จัดตั้งนั้นมีวัตถุประสงค์และองค์ประกอบที่สอดคล้องกับคณะกรรมการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (อปท.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มีอยู่ก่อนแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนจึงเห็นควรปรับเปลี่ยนการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลไปเป็นการจัดตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ อปท. โดยคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวมุ่งเน้นเป็นหน่วยประมวลความรู้ (Think Tank) เพื่อช่วยจัดการผลประโยชน์ทางทะเลทุกมิติในภาพรวมซึ่งเป็นการเสริมการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ อปท.ให้มีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้นำข้อสรุปดังกล่าวเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอ จนเกิดเป็น “คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล

      คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน ซึ่งรวมทั้ง อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ข้าราชการประจำ และข้าราชการเกษียณเข้ามาทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้คณะอนุกรรมการฯ ยังได้แต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นที่มีความสำคัญด้านต่างๆด้วย รวมทั้งจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะด้านเพื่อดำเนินงานตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย

 

อำนาจหน้าที่คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (อจชล. เดิม)

      ตามคำสั่งของ อปท. ที่ 1/2554  ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554  กำหนดให้คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. เสนอแนะและให้คำแนะนำทางวิชาการเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล เพื่อความมั่นคงแห่งชาติและการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลในทุกด้านของรัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน เพื่อให้การปฏิบัตินโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน หรือโครงการนั้น เป็นไปอย่างบูรณาการสอดคล้องกัน มีการประสานงานกันและมีประสิทธิภาพ

2. ติดตามและประเมินผลในการปฏิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล

3. ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรประชาชนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน หรือโครงการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

4. ดำเนินการศึกษารูปแบบและให้ข้อเสนอแนะในการจัดตั้งองค์กรอิสระหรือองค์กรในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลผลประโยชน์ของชาติทางทะเลทั้งหมดอย่างบูรณาการ

5. ดำเนินการให้มีการตรากฎหมายกลางขึ้นใช้บังคับ เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ซึ่งกฎหมายดังกล่าวต้องไม่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่แล้ว

6. ดำเนินการตามที่คณะกรรมการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (อปท.) หรือ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ/ประธานกรรมการอำนวยการและประสานการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล มอบหมาย

7. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานอื่นใด ตามที่ประธานมอบหมาย

 

องค์ประกอบคณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (อจชล. เดิม)

      คำสั่งของ อปท. ที่ 1/2554  ลงวันที่  27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554  และคำสั่งของ อปท. ที่ 4/2554 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 ได้กำหนดให้คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล มีองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการดังนี้

1.

 

พลเรือตรี ศิริวัฒน์  ธนะเพทย์

 

ประธาน

2.

 

นายอนุวัฒน์ นทีวัฒนา

 

รองประธาน

3.

 

รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

(นายสุรชัย  นิระ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันในขณะนั้น)

 

รองประธาน

4.

 

พลเรือเอก (ศ.พิเศษ) ถนอม  เจริญลาภ

(ถึงแก่กรรม)

 

อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

5.

 

ศ.ดร.สมปอง  สุจริตกุล

 

อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

6.

 

ศ.กิตติคุณ ดร.ทวีศักดิ์  ปิยะกาญจน์

 

อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

7.

 

ดร.เทพ  เมนะเศวต

 

อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

8.

 

รศ.ดร.พิพัฒน์  ตั้งสืบกุล

 

อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

9.

 

นายจารุอุดม  เรืองสุวรรณ

 

อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

10.

 

พลเรือตรี จุมพล ลุมพิกานนท์

 

อนุกรรมการ

11.

 

ศ.ดร.ชุมพร  ปัจจุสานนท์

 

อนุกรรมการ

12.

 

เรือตรี ปรีชา เพ็ชรวงศ์

 

อนุกรรมการ

13.

 

ดร.อนุวัฒน์  นทีวัฒนา

 

อนุกรรมการ

14.

 

ดร.พรชัย ด่านวิวัฒน์

 

อนุกรรมการ

15.

 

ดร.วิชาญ  ศิริชัยเอกวัฒน์

 

อนุกรรมการ

16.

 

นายโกมล  จิรชัยสุทธิกุล

 

อนุกรรมการ

17.

 

ดร.สมิท  ธรรมเชื้อ

 

อนุกรรมการ

18.

 

ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ

 

อนุกรรมการ

19.

 

ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

 

อนุกรรมการ

20.

 

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

อนุกรรมการ

21.

 

ผู้แทนกรมยุทธศึกษาทหารเรือ

 

อนุกรรมการ

22.

 

ผู้แทนศูนย์ประสานการปฏิบัติในการักษา      ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล

 

อนุกรรมการ

23.

 

ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

 

อนุกรรมการ

24.   ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง   อนุกรรมการ
25.   ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ   อนุกรรมการ

26.

 

ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

 

อนุกรรมการ

27.

 

รศ.ดร. เผดิมศักดิ์  จารยะพันธุ์

 

อนุกรรมการและเลขานุการ

28.

 

นางพวงทอง  อ่อนอุระ

 

อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

29.

 

ผู้แทนสำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

 

 

อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

 

การดำเนินงานที่ผ่านมา

      คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ได้ดำเนินการสนับสนุนด้านความรู้และผลประโยชน์ของชาติทางทะเลต่างๆ ผลการดำเนินงานสำคัญ ดังนี้

1. ร่วมกับโครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สกว. จัดประชุมเสวนาชุด “โอกาสและสิ่งท้าทายในการใช้ทะเลของประเทศไทยอยู่ตรงไหน ครั้งที่ 1 : ยุทธศาสตร์ทางทะเล”  เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

2. ร่วมกับโครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สกว. จัดประชุมเสวนาชุด “โอกาสและสิ่งท้าทายในการใช้ทะเลของประเทศไทยอยู่ตรงไหน ครั้งที่ 2 : การประมงและทรัพยากรมีชีวิต”  เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

3. ร่วมกับโครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สกว. จัดประชุมเสวนาชุด “โอกาสและสิ่งท้าทายในการใช้ทะเลของประเทศไทยอยู่ตรงไหน ครั้งที่ 3 : การขนส่งทางทะเล”  เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

4. เข้าร่วมการเสวนาเรื่อง “สิทธิเรือประมงไทยในการผ่านน่านน้ำของรัฐชายฝั่ง ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 และการคุ้มครองของรัฐบาลไทย กรณีศึกษา : เรือ อ.ศิริชัยนาวา 18” เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

5. ร่วมกับโครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สกว. จัดประชุมเสวนาชุด “โอกาสและสิ่งท้าทายในการใช้ทะเลของประเทศไทยอยู่ตรงไหน ครั้งที่ 4 : ทรัพยากรไม่มีชีวิต”  เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

6. เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำร่างยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาการจัดตั้งหน่วยยามฝั่ง

7. ให้ข้อคิดเห็นทางวิชาการต่อร่างยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ. 2553 - 2559)

8. เสนอให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์และคามมั่นคงของชาติทางทะเล และคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและองค์กรในการรักษาผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติทางทะเล

9. เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาสอบสวนและศึกษาการลงนาม การให้สัตยาบันและการอนุวัติกฎหมาย ภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อชี้แจงและแสดงความคิดเห็นในเรื่องการแก้ไขกฎหมายภายใน ก่อนการให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982