พิมพ์

ขยะทะเล

 

ขยะทะเล คือของเสียที่เกิดจากมนุษย์ที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเลทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งขยะดังกล่าวเป็นขยะพลาสติกมีน้ำหนักเบาและไม่สามารถย่อยสลายได้ในเวลาที่สั้นจึงถูกพัดพาไปในที่ที่ห่างไกลจากแหล่งกำเหนิด โดยคลื่น ลม กระแสน้ำ และน้ำขึ้นน้ำลง 

ขยะพลาสติกส่วนใหญ่ประกอบด้วยของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุง ขวด ภาชนะใส่อาหาร และวัสดุที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น สายรัด แผ่นพลาสติก หมวกนิรภัย และ เครี่องมือประมง เช่น แห อวน ลอบ

ขยะพลาสติกชิ้นใหญ่จะถูกย่อยสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจนถึงขนาดเล็กมากเรียกว่า ไมโครพลาสติกซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกที่มีขนาดที่เล็กกว่า ๕ มิลลิเมตร นอกจากไมโครพลาสติกจะมาจาการย่อยสลายของพลาสติกชิ้นใหญ่แล้ว ใช้เป็นเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของการผลิตพลาสติก ยังเป็นส่วนผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในเครื่องสำอางค์ (cosmetic products) และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (health care products)เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก มันจึงเล็ดลอดสู่ท้องทะเลเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี รายงานขององค์การสหประชาชาติระบุว่า ทุก ๑ ตารางไมล์หรือประมาณ ๒.๖ ตารางกิโลเมตรของผืนมหาสมุทรมีเม็ดพลาสติกบริสุทธิ์ลอยปะปนอยู่ราวๆ ๑๓,๐๐๐ เม็ด คุณสมบัติเฉพาะตัวที่ดูดซับสารพิษได้ดียังทำให้มันสะสมพีซีบี (PCBs) หรือดีดีที (DDT)และสารพิษอื่นๆ ที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมยาวนานไว้ในดีกรีเข้มข้น  นอกจากไมโครพลาสติกที่เป็นเม็ดแล้วยังพบไฟเบอร์ที่เกิดจากการซักผ้าด้วย

ในปัจจุบันมีรายงานทางวิชาการจำนวนมากเกี่ยวกับแหล่งกำเหนิด เส้นทาง และผลกระทบของขยะพลาสติกและรายงานดังกล่าวกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ดูการศึกษาที่เกี่ยวข้อง)

 

แหล่งกำเนิดของขยะทะเล

1. แหล่งบนบก ได้แก่

2. แหล่งในทะเล ได้แก่

 

ผลกระทบของขยะทะเลต่อสัตว์ทะเลและระบบนิเวศ

1. ผลกระทบต่อสัตว์ทะเล

สัตว์ทะเลหลายชนิดขยะจะกินพลาสติกโดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาหาร ขยะดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งทำให้สัตว์ขาดอาหารและอาจถึงตายในที่สุด นอกจากการกินพลาสติกแล้วขยะพลาสติกยังเป็นอันตรายโดยการถูกรัด (entangled)และทำให้บาดเจ็บ

2. ผลกระทบต่อระบบนิเวศ

ระบบนิเวศและทรัพยากรเกิดความสูญเสีย เช่น การตายของปะการัง เนื่องจากมีอวนจำนวนมากปกคลุมในแนวปะการัง การติดอวนของสัตว์ทะเลจนตายหรือติดเชื้อ ทั้งนี้ยังทำให้เกิดการแพร่กระจายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น โดยการติดมากับขยะที่ล่องลอยอยู่ในน้ำจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง

ผลกระทบต่อสายใยอาหาร (Food web) เม็ดพลาสติกขนาดเล็กและขยะอื่นๆที่ลอยอยู่ที่ผิวน้ำจะบังแสงแดดไม่ให้ส่องลงไปถึงแพลงตอนและสาหร่ายที่อยู่ด้านล่างซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตในสายใยอาหารโดยใช้ ออกซิเจน คาร์บอนและแสงแดด เมื่อ แพลงตอนและสาหร่ายได้รับผลกระทบสายใยอาหารก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย สัตว์ที่กินแพลงตอนและสาหร่ายเป็นอาหารก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าสัตว์เหล่านี้มีจำนวนลดลงก็จะมีผลทำให้สัตว์ที่เป็นผู้บริโภคระดับสูงสุดซึ่งได้แก่ปละทูน่า ปลาฉลามลดลงไปด้วย ในที่สุดอาหารทะเลก็จะมีน้อยลงและราคาแพงขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อปลาและนกทะเลที่กินเม็ดพลาสติกบริสุทธิ์เข้าไปเช่น รบกวนระบบการย่อย อุดตันทางเดินอาหาร หรือเป็นพิษต่อร่างกายจนทำให้เสียชีวิตขณะเดียวกันสารพิษที่ตกค้างในเนื้อเยื่อยังถูกส่งต่อตามลำดับห่วงโซ่อาหารจากสัตว์ทะเลขนาดเล็กถึงปลาตัวโตและถึงสัตว์ผู้ล่าที่อยู่ปลายสุดซึ่งแน่นอนว่า…ในจำนวนนั้นมีมนุษย์รวมอยู่ด้วย

ผลกระทบจากสารพิษ พลาสติกสามารถถูกย่อยเป็นขนาดเล็กลงได้โดยแสงแดด (photodegradation) ทำให้สารเคมีบางชนิดที่เป็นพิษ ละลายไปในน้ำทะเล นอกจากนี้พลาสติกยังสามารถดูดซึมสารพิษเช่น PCB ที่อยู่ในน้ำทะเลซึ่งสามารถเข้าสู่สายใยอาหารได้เมื่อถูกกินโดยสัตว์

3. ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

ขยะทะเลสร้างความเสียหายให้กับการเดินเรือ การประมง และสัตว์ทะเลจำนวนมาก รวมถึงนิเวศบริการทั้งในทะเลและชายฝั่ง ซึ่งส่งผลต่อรายได้ทั้งที่มาจากการประมง และการท่องเที่ยว ส่วนผลกระทบต่อสังคมรวมถึง

ผลกระทบต่อสุขภาพของคน เช่น การได้รับบาดเจ็บจากขยะบริเวณชายหาดและขยะทะเลพลาสติกขนาดเล็กที่สามารถเข้าไปปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารทั้งมนุษย์และสัตว์ทะเล เป็นต้น

 

สถานการณ์ขยะทะเลในประเทศไทย

ปัจจุบันยังไม่มีการเก็บข้อมูลโดยตรงในเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ มีเพียงการประเมินปริมาณขยะทะเลที่เกิดจากแหล่งบนบกจากสถิติขยะมูลฝอยทั่วประเทศของกรมควบคุมมลพิษที่คาดว่าจะลงสู่ทะเล

ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพ.ศ. 2559 พบว่า ประเทศไทยมีขยะมูลฝอย 27.04 ล้านตัน แบ่งเป็นขยะที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องจำนวน 9.59 ล้านตัน (ร้อยละ 36) นำกลับมาใช้ประโยชน์ จำนวน 5.76 ล้านตัน (ร้อยละ 21) เหลือเป็นขยะที่มีการกำจัดที่ไม่ถูกต้องอีกจำนวน 11.69 ล้านตัน (ร้อยละ 43) นอกจากนี้ยังมีขยะสะสมที่ไม่มีการเก็บขน ซึ่งตกค้างในพื้นที่อีก 10.13 ล้านตัน ซึ่งส่วนหนึ่งของขยะที่มีการกำจัดที่ไม่ถูกต้องและขยะสะสมซึ่งตกค้างในพื้นที่จำนวน 21.82 (11.69+10.13) ล้านตันนี้อาจถูกลมพัดพาไปตกในทะเล หรือชะลงแม่น้ำลำคลอง และไหลออกสู่ทะเลได้ในที่สุด ซึ่งปริมาณขยะที่ลงสู่ทะเลจะต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อคำนวนหาตัวเลขที่ถูกต้องต่อไป

สำหรับประเภทของขยะชายหาดจากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2559) ซึ่งได้จากการเก็บขยะชายหาดพบว่า พ.ศ. 2558 พบขยะทะเลที่มาจากกิจกรรมชายฝั่งและการพักผ่อนมีสัดส่วนถึงร้อยละ 78 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก ดังรูปที่ 1 

 

รูปที่ 1 สัดส่วนของขยะชายหาดในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2558
(ดัดแปลงจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน, 2559)

 

 

สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอย ปี 2560 

ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 27.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 จากปี 2559 ที่มีปริมาณ 27.06 ล้านตัน แต่อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคนลดลงจาก 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี 2559  เป็น 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี 2560 โดยเป็นผลมาจากความร่วมมือของหน่วยงานท้องถิ่น ประชาชน และภาคเอกชนในการลดและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

การจัดการขยะมูลฝอยใน 2560 เปรียบเทียบกับ ปี 2559

  1. ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จาก 9.57 ล้านตัน เป็น 11.70 ล้านตัน
  2. ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 47 จาก 5.80 ล้านตัน เป็น 8.52 ล้านตัน
  3. ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้องลดลง ร้อยละ 39 จาก 11.69 ล้านตัน เป็น 7.18 ล้านตัน

ปัจจัยที่ส่งผลให้การจัดการขยะมูลฝอยยังดำเนินการได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น

  1. อัตราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากประชาชนยังไม่สอดคล้องกับต้นทุนการดำเนินงาน
  2. การคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทางยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องโดยบางแห่งยังมีการเก็บขนขยะมูลฝอยที่คัดแยกไว้แล้วรวมกับขยะที่จะต้องกำจัด
  3. ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย
  4. การกำจัดขยะมูลฝอยในบางพื้นที่ยังดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
  5. บางพื้นที่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากประชาชนต่อต้าน การขาดความร่วมมือและความตระหนักจากประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง
  6. ยังมีการใช้สินค้าและ/หรือบรรจุภัณฑ์ที่กำจัดยากและย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยากโดยเฉพาะถุงพลาสติกและโฟม เป็นต้น

สำหรับเทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่มีการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพดีในลำดับต้น จำนวน 23 แห่ง อาทิ เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครและที่ยังต้องปรับปรุงและพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยให้ดีขึ้น จำนวน 26 แห่ง อาทิ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลเมืองนครพนม เทศบาลนครแหลมฉบัง (ชลบุรี) ฯลฯ

(กรมควบคุมมลพิษ, 2560)

 

   

 

 

 

 

อ้างอิง

[1] กรมควบคุมมลพิษ 2559 http://www.pcd.go.th/public/News/GetNews.cfm?task=lt2009&id=17560 [เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2560]

 

[2] สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน,  2559.  ฐานข้อมูลกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเอกสารยังไม่เผยแพร่.

 

[3] Ocean Conservancy (2015) Stemming the tide: Land-based strategies for a plastic-free ocean 7:47