พิมพ์

 

sdg

 

 

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

"เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เป็นทิศทางการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 ที่องค์การสหประชาชาติได้นำออกเผยแพร่ เพื่อใช้แทนเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ที่หมดอายุลงในปี 2558 โดย SDGs จะเริ่มใช้ในเดือนกันยายน 2558 ถึง เดือนสิงหาคม 2573 ระยะเวลา 15 ปี

ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 17 ข้อ โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับทะเล คือ ข้อ 14

     1. ขจัดความยากจน
     2. ขจัดความหิวโหย
     
3. มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
     4. การศึกษาที่เท่าเทียม
     5. ความเท่าเทียมทางเพศ
     6. การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
     7. พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
     8. การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
     9. อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
   10. ลดความเหลื่อมล้ำ
   11. เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
   12. แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
   13. การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
   14. การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
   15. การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
   16. สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
   17. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 


"อนุรักษ์และใช้มหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอื่นๆ

อย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"

 

เป้าประสงค์ (Targets) และตัวชี้วัด (Indicators)

ที่เกี่ยวข้องกับทะเลและมหาสมุทร 

 

เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด
14.1 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษจากกิจกรรมบนบก รวมทั้งมลพิษจากขยะและสารอาหารทางทะเล

14.1.1 ตัวชี้วัดแบบองค์ประกอบของประสิทธิภาพการดูดธาตุไนโตรเจน

14.2 จัดการและคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่สำคัญ รวมทั้งโดยการเสริมสร้างการปรับตัวและดำเนินการในการฟื้นฟู เพื่อนำไปสู่การมีมหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์ภายในปี 2020



14.2.1 ร้อยละของการพัฒนาชายฝั่งและทะเลที่มีการจัดทำแผน ICM/MSP และนำเอาแผนไปดำเนินการ (ซึ่งกลมกลืนกัน) โดยยืดหลักของระบบนิเวศที่ สร้างสงคม ทมความยดหยนของชุมชน และ และระบบนิเวศและมีการแบ่งปันผลประโยชน์ และ สร้างงานที่มีคุณค่า

14.3 ลดและแก้ไขผลกระทบของความเป็นกรดของมหาสมุทร รวมทั้งโดยการเพิ่มความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ

14.3.1 ภาวะความเป็นกรดในทะเลเฉลี่ย (pH) วัดที่สถานีเก็บตัวอย่างตัวแทน

14.4 ควบคุมการจับและขจัดการประมงที่เกินกำลังการผลิต การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคม (IUU) และการทำประมงแบบทำลายและดำเนินการตามแผนการจัดการที่ยืดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อฟื้นฟูประชากรสัตว์นำในระยะเวลาที่สั้นที่สุดที่จะเป็นไปได้ อย่างน้อยที่สุดให้อยู่ใน ระดับที่สามารถให้ผลผลิตได้สูงสุดตามที่กำหนดโดยลักษณะทางชีววิทยา ภายในปี 2020

14.4.1 สัดส่วนของมวลปลาภายในระดับความยั่งยืนทางชีวภาพ






14.5 อนุรักษ์พื้นที่อย่างน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง โดยสอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่

14.5.1 พื้นที่ที่เป็นพื้นที่คุ้มครอง




14.6 ห้ามการอุดหนุนภาคการประมงในบางรูปแบบที่จะนำไปสู่ การประมงที่เกินกำลังการผลิต และการประมงมากเกินไป และขจัดการอุดหนุนที่นำไปสู่การประมงแบบ  IUU และห้ามนำการอุดหนุนแบบใหม่มาใช้  โดยตระหนักว่าขบวนการเจรจาด้านการอุดหนุนภาคการประมงภายใต้ WTO ต้องมีการบูรณาการการปฏิบัติเป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาน้อยที่สุดภายในปี 2020

14.6.1 มูลค่าดอลลาร์ของการอุดหนุนการประมงด้านลบ เทียบกับฐานปี 2015






14.7 เพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ กลุ่มประเทศที่เป็นเกาะและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด จากการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งการจัดการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

14.7.1 รายได้จากการประมงคิดเป็นร้อยละของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ



14.a เพิ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์และแนวทางของคณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่างประเทศว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล เพื่อทำความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรให้ดีขึ้น และทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลมีส่วนช่วยในการพัฒนาในประเทศกำลังพฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มประเทศที่เป็นเกาะ และประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

14.a.1 งบประมาณที่จัดสรรให้สำหรับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีทางทะเลที่ยั่งยืนคิดเป็นร้อยละของงบประมาณการวิจัยด้านเทคโนโลยีทางทะเลทั้งหมด





14.b จัดให้ชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กสามารถเข้าถึงทรัพยากรทาง
ทะเล และตลาด


14.b.1 การจับที่มีหลักฐานทางเอกสารหรือระบบที่สามารถตรวจสอบได้คิดเป็นร้อยละของการจับทั้งหมดซึ่งน้อยกว่า X ตันมีการค้าขายในตลาดหลักๆ

14.c เสริมสร้างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของมหาสมทร และทรัพยากรทางทะเล โดยการใชกฎหมาย ระหว่างประเทศที่ระบุในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย กฎหมายทะเล ซึ่งเป็นกรอบกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของมหาสมุทร  และทรัพยากรทางทะเล ตามที่ได้ถูกอ้างถึงอีกในเอกสาร “อนาคตที่เราต้องการ หรือ The Future We Want”

14.c.1 จำนวนประเทศที่ดำเนินการตามกฎหมาย หรือตามโครงการที่กำหนดไว้ในพิธีสารทางทะเลภูมิภาค (RSP) และให้สัตยาบัน และดำเนินการตามอนุสัญญาทางทะเลและประมงขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)