พิมพ์

สถิติข้อมูลหญ้าทะเล ปี 2549 

 

             ในประเทศไทยพบหญ้าทะเลได้ในหลายพื้นที่ เช่น แหล่งน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำที่ติดป่าชายเลน ชายฝั่งน้ำตื้นที่มีพื้นทรายหรือทรายปนโคลน และที่ลึกติดกับแนวปะการัง สภาพแหล่งหญ้าทะเลโดยทั่วไปทางฝั่งทะเลอันดามันมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าทางฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลอันดามันพบหญ้าทะเลในพื้นที่ชายทะเลและเกาะต่างๆ ทุกจังหวัด ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ซึ่งมีพื้นที่รวมประมาณ 60,000 ไร่ โดยแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่สุดในน่านน้ำไทยคือ บริเวณเกาะตะลิบง จังหวัดตรัง

             ฝั่งอ่าวไทยพบหญ้าทะเลทั่วไปตามจังหวัดชายฝั่งทะเล 13 จังหวัดและเกาะบางแห่ง ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 34,500 ไร่

ตารางที่ 1 : การกระจายตัวของหญ้าทะเลในประเทศไทยปี 2549

จังหวัด พื้นที่ (ไร่) บริเวณที่พบ ชนิดหญ้าทะเลที่พบ
อ่าวไทยฝั่งตะวันออก 10,386    

ตราด

 

 4,640

บานคลองหิน, บ้านคลองม่วง,อ่าวไม้รูด, อ่าวธรรมชาติ, เกาะปุย, อ่าวกล้วย, เกาะกูด, เกาะกระดาด, เขาล้าน, แหลมกลัด, อ่าวสับปะรด, บ้านนนทรี, เกาะช้าง

หญ้าคาทะเล, หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้ากุยช่ายเข็ม, หญ้าเงา, หญ้าเงาใส, หญ้าเงาใบเล็ก, หญ้าเงาแคระ, หญ้าชะเงาเต่า, หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย, หญ้าตะกานน้ำเค็ม
จันทบุรี 1,690 ปากแม่น้ำพังราด,  อ่าวคุ้งกระเบน หญ้าคาทะเล, หญ้ากุ้ยช่ายทะเล, หญ้ากุ้ยช่ายเข็ม, หญ้าเงาใส
ระยอง 3,441 เขาแหลมหญ้า, อ่าวเพ, สวนสน, อ่าวมะขามป้อม, ปากน้ำประแสร์, หาดแม่พิมพ์, เกาะมัน หญ้าคาทะเล, หญ้ากุ้ยช่ายทะเล, หญ้ากุ้ยช่ายเข็ม,หญ้าเงา,หญ้าเงาใส,หญ้าเงาใบเล็ก, หญ้าเงาแคระ
ชลบุรี 615 เกาะคราม, อ่าวเตยงาม,  อ่าวสัตหีบ, เกาะแสมสาร หญ้ากุ้ยช่ายทะเล, หญ้าเงาใส, หญ้าเงาใบเล็ก
อ่าวไทยฝั่งตะวันตก 10,839    

เพชรบุรี

 10 ปากคลองบางกราน้อย, ปากคลองบาง กราใหญ่ หญ้าตะกานน้ำเค็ม
ประจวบคีรีขันธ์ 20 อ่าวมะนาว หญ้ากุ้ยช่ายเข็ม, หญ้าเงา
ชุมพร 10,809 เกาะเวียง-แหลมแท่น, อ่าวทุ่งคา-สวี, ปากน้ำละแม หญ้ากุยช่ายเข็ม, หญ้าเงาใส, หญ้าเงาแคระ
อ่าวไทยภาคใต้ตอนบน 11,528    
สุราษฎร์ธานี   10,680 อ่าวไชยา, เกาะพงัน, เกาะสมุย, เกาะนกตะเภา หญ้าคาทะเล, หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้ากุยช่ายเค็ม, หญ้าต้นหอมทะเล, หญ้าเงา, หญ้าเงาใส, หญ้าเงาแคระ, หญ้าชะเงาเต่า,หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย
นครศรีธรรมราช   45 อ่าวท่าไร่ หญ้าคาทะเล, หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้ากุยช่ายเข็ม, หญ้าเงา, หญ้าชะเงาเต่า
พัทลุง 460 อ่าวท่ายาง, บ้านเกาะยวน หญ้าเงาแคระ และ หญ้ากุยช่ายเข็ม
สงขลา 343 ทะเลสาบสงขลา, หาดทรายแก้ว, ปากคลองนาทับ หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้ากุยช่ายเข็ม, หญ้าเงาแคระ
อ่าวไทยภาคใต้ตอนล่าง 1,840    
ปัตตานี 1,764 คลองยามู, อ่าวปัตตานี, หาดชลาลัย หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้ากุยช่ายเข็ม, หญ้าเงา, หญ้าเงาแคระ, หญ้าตะกานน้ำเค็ม
นราธิวาส 76 อ่าวมะนาว, คลองตากใบ,ปากคลองนรา หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้าเงาแคระ
อันดามันและช่องแคบมะละกาตอนบน 60,508    
ระนอง   940 บ้านบางจาก, เกาะพะยาม,  บ้านบางเบน, เกาะกำ, เกาะล้าน หญ้าคาทะเล, หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้ากุยช่ายเค็ม, หญ้าเงา, หญ้าเงาใส, หญ้าเงาแคระ, หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย
พังงา   15,816 เกาะสุรินทร์, เกาะไข่ใหญ่, ทุ่งนางดำ, เกาะพระทอง, เกาะผ้า, บ้านทับละมุด, ท่านุ่น, แหลมสอม-แหลมเรียง, แหลมหาดหอย, แหลมหาด, เกาะยาวน้อย, เกาะยาวใหญ่, บ้านบางขวัญ, อ่าวโต๊ะหนง, อ่าวสอม, เกาะละวะใหญ่, บ้านอ่าวมะขาม, แหลมคลองบอน, อ่าวโล๊ะปาไล, อ่าวสน  
ภูเก็ต   4,445 หาดในยาง, บ้านท่าฉัตรชัย, บ้านป่าคลอก, บางโรง, เกาะนาคาใหญ่, อ่าวภูเก็ต, เกาะตะเภาใหญ่, อ่าวตังเข็น, อ่าวฉลอง, บ้านคลองหยิด, บ้านคอเอน, บ้านบางดุก-แหลมทราย, เกาะโหลน-อ่าวยน หญ้าคาทะเล, หญ้าชะเงาเต่า, หญ้าชะเงาใบมน, หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย, หญ้าเงา, หญ้าเงาแคระ, หญ้ากุยช่ายเข็มและหญ้ากุยช่ายทะเล
กระบี่   15,670 บ้านเตาถ่าน-เขาทองใต้, บ้านท่าเลน, แหลมหางนาค, หาดนพรัตน์ธารา, อ่าวท่าเลน, บ้านปากคลองจิหลาด, เกาะศรีบอยา-เกาะปู, เกาะกา, บ้านบ่อม่วง, แหลมไทร, เกาะลันตาใหญ่, เขาศิลามาก-ปากมาก, ปากคลอง, บ้านบ่อม่วง, เขาสามหนวย, อ่าวน้ำเมา, เกาะด้ามหอก-ด้านขวาน, บ้านแหลมหิน หญ้าคาทะเล, หญ้าชะเงาเต่า, หญ้าชะเงาใบมน, หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย, หญ้าเงา, หญ้าเงาแคระ, หญ้ากุยช่ายเข็มและหญ้ากุยช่ายทะเล
ตรัง   21,493 บ้านแหลมไทร, บ้านแหลมมะขาม, อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม, เขาแบนะ, บ้านปากคลอง-เกาะผี, ควนตุงกู, แหลมหยงลำ, ปากคลองลัดเจ้าไหม, ปากคลองเจ้าไหม,  เกาะมุก, เกาะตะลิบง, เกาะสุกร หญ้าคาทะเล, หญ้าชะเงาเต่า, หญ้าชะเงาใบมน, หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย, หญ้าชะเงาใบเล็ก, หญ้าเงา, หญ้าเงาใส, หญ้าต้นหอมทะเล, หญ้าเงาแคระ, หญ้ากุยช่ายเข็มและหญ้ากุยช่ายทะเล
สตูล   2,144 เกาะลิดีเล็ก, เกาะลิดีใหญ่, เกาะตันหยง, เกาะสาม, เกาะผี, บ้านตันหยงโป, เกาะเกวเล็ก, ปากบารา, บ้านบากันโต๊ะทิด หญ้าคาทะเล, หญ้ากุยช่ายทะเล, หญ้าต้นหอมทะเล, หญ้าเงา, หญ้าเงาใส, หญ้าเงาแคระ, หญ้าชะเงาเต่า, หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย, หญ้าชะเงาใบมน
รวมทั้งประเทศไทย 95,101    

 ที่มา: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน. 2549. 

 

 ตารางที่ 2 : สถานภาพแหล่งหญ้าทะเลฝั่งอ่าวไทยปี 2549

จังหวัด/บริเวณที่พบ พื้นที่ (ไร่) พื้นที่ปกคลุม (%) สถานภาพปี 2549 รายละเอียด ปัญหาความเสื่อมโทรม
ตราด
แหลมกลัด-บ้านไม้รูด 2,252 25 ++ แนวหญ้าทะเลริมชายฝั่ง เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน หอยปากเป็ด และเป็นแหล่งคราดหอยขาว เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
อ่าวธรรมชาติ, เกาะช้าง 1,330 50 +   หญ้าทะเลกำลังพื้นตัว จากความร่วมมืออนุรักษ์หญ้าทะเลของชาวบ้าน
หมู่เกาะกระตาด 798 50 N มีความหลากหลายของชนิดหญ้าทะเล -
เกาะกูด 225 50 N พื้นที่หญ้าทะเลทางฝั่งตะวันออกของเกาะ -
จันทบุรี
อ่าวคุ้งกระเบน 1,520 75 +++ เป็นอ่าวกึ่งปิด มีป่าชายเลนล้อมรอบอ่าว พบไส้เดือนทะเล หอยฝาเดียว ลูกกุ้ง และลูกปลาชุกชุม บริเวณนี้พบพะยูนบ่อยครั้ง -
ปากน้ำพังราด 170 0 - เป็นแหล่งหญ้าทะเลบริเวณปากแม่น้ำพังราด มีอวนลากเข้ามาทำประมงใกล้ฝั่ง พบพะยูนตายลอยน้ำมาบ่อยครั้ง
ระยอง
ชายฝั่งอ่าวมะขามป้อม-ปากน้ำพังราด 1,840 75 ++ เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่อยู่ติดกับป่าชายเลน เป็นแหล่งอนุบาลลูกปูม้า ลูกผลาช่อนทราย ลูกปลาหมูสีและลูกกุ้ง และเป็นแหล่งประมงหอยหลายชนิด น้ำทิ้งจากนากุ้งและชุมชน การถมที่รุกล้ำพื้นที่หญ้าทะเล มีเขื่อนกันคลื่น การขุดลอกร่องน้ำ การสัญจรทางน้ำ
อ่าวเพ 766 50 ++ พบพะยูนในบริเวณอ่าวเป็นครั้งคราว มีความหลากหลายของสัตว์ทะเลมาก ประมงอวนทับตลิ่ง ผ้าบางเจียดเคย น้ำทิ้งจากชุมชนและท่าเรือ และการสัญจรท่องเที่ยว (เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล)
หาดแม่พิมพ์ 65 5 N มีรายงานพบพะยูนมากินหญ้าทะเล เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
เกาะมัน 770 20 ++ แนวหญ้าทะเลรอบเกาะอยู่ร่วมกับปะการังแข็ง ปะการังอ่อน และดอกไม้ทะเล บางบริเวณมีสาหร่ายขึ้นปะปนหลายชนิด -
ชลบุรี
อ่าวเตยงาม-อ่าวสัตหีบ 615 15 + เดิมเคยพบหญ้าทะเลบริเวณเกาะพระในอ่าวสัตหีบ แต่ปัจจุบันสำรวจไม่พบแหล่งหญ้าทะเลดังกล่าว ส่วนอ่าวเตยงามมีลักษณะเป็นอ่าวกึ่งปิด พื้นที่แหล่งหญ้าทะเลอยู่ภายใต้การดูแลของฐานทัพเรือสัตหีบ การสร้างเขื่อนกันคลื่น สะพานเทียบเรือ และที่พักอาศัยภายในอ่าวสัตหีบ
เพชรบุรี
ปากคลองบางกราน้อย-ปากคลองบางกราใหญ่ 10        
ประจวบคีรีขันธ์     
อ่าวมะนาว 20 ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของกองทัพอากาศ กองบิน 53 การแพร่กระจายของหญ้าทะเลอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
ชุมพร
อ่าวทุ่งคา-สวี 7,834 ไม่มีรายงาน + พบหญ้าทะเลเพียงชนิดเดียว คือ หญ้าเงาแคระ เจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่มีพื้นดินเป็นทรายปนโคลน การเพิ่มขึ้นของตะกอนและน้ำทิ้งจากการประมงและเพาะเลี้ยวสัตว์น้ำ การสำรวจแหล่งน้ำมันดิบ
เกาะเวียง-แหลมแท่น 115 ไม่มีรายงาน N   ได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากตะกอนชายฝั่ง
ปากน้ำละแม 2,860 ไม่มีรายงาน N มีรายงานพบหญ้าเงาใสเพียงชนิดเดียว ตะกอนทับถม
สุราษฎร์ธานี
อ่าวไชยา 1,800 ไม่มีรายงาน N แนวหญ้าทะเลกระจายตัวตามแนวชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
เกาะสมุย 4,700 ไม่มีรายงาน + พบแนวหญ้าทะเลกระจายตามชายฝั่งตะวันตก และตอนใต้ของเกาะ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน การท่องเที่ยว การก่อสร้างถนนและท่าเรือ การขุดร่องน้ำ ส่งผลกระทบให้หญ้าทะเลเสื่อมโทรม
เกาะพงัน 4,018 ไม่มีรายงาน + พบเป็นแนวตลอดตั้งแต่ตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงแหลมตอนใต้เกาะ การท่องเที่ยว การสร้างถนน/ท่าเรือ การขุดร่องน้ำ การประมงอวนรุน
เกาะนกตะเภา 158 ไม่มีรายงาน N แนวหญ้าทะเลกระจายตามแนวชายฝั่งตะวันตกของเกาะ การประมงผิดวิธี เช่น อวนลาก อวนรุน
นครศรีธรรมราช
เกาะท่าไร่ 45 ไม่มีรายงาน N แหล่งหญ้าทะเลขนาดเล็ก อาจเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
สงขลา
อ่าวท่ายาง 460 ไม่มีรายงาน ไม่มีรายงาน - -
ปากคลองหน้าทับ 40 ไม่มีรายงาน N   เปลี่ยนแปลงตามสภาพธรรมชาติ
ทะเลสาบสงขลา 303 ไม่มีรายงาน N   เปลี่ยนแปลงตามสภาพธรรมชาติ
ปัตตานี
อ่าวปัตตานี 1,712.50 ไม่มีรายงาน + เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่มีขนาดใหญ่มากพอสมควร และเป็นแหล่งประมงพื้นบ้านและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน การขยายตัวของชุมชนเมือง/อุตสาหกรรม น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม การสร้างท่าเทียบเรือ การประมงผิดวิธี
คลองยามู 38 ไม่มีรายงาน +    
หาดชลาลัย 14 ไม่มีรายงาน N    
นราธิวาส
คลองตากใบ 76   N    

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, ฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเล หญ้าทะเล, สืบค้นจาก http://www.dmcr.go.th/marinecenter/seagrasses-lesson2.php เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 54

 

ตารางที่ 3 : สถานภาพแหล่งหญ้าทะเลฝั่งทะเลอันดามันปี 2549 - 2553

จังหวัด/บริเวณที่พบ พื้นที่(ไร่) ปีที่สำรวจ พื้นที่ปกคลุม (%) สถานภาพ รายละเอียด ปัญหาความเสื่อมโทรม
ระนอง      
บ้านบางจาก 127.83 2549 5 N เป็นแหล่งทำการประมงกุ้งเคย ตะกอนดินจากกิจกรรมบนฝั่ง
2552 0 -
บ้านบางเบน 940 2549 70 +++ แนวหญ้าทะเลทั้งหมดที่พบบริเวณนี้อยู่ตามแนวสันทรายใกล้ป่าชายเลนและปากคลอง พบหญ้าทะเลที่ระดับความลึกประมาณ 1.9-2.5 เมตร โดยพบหญ้าเงาแคระเป็นชนิดเด่นที่พบประมาณ 95% ของหญ้าทะเลที่พบทั้งหมด รองลงไปคือ หญ้าเงาและหญ้าคาทะเล -
2550 60 ++
2552 70 +++
2553 80 +++
เกาะพะยาม 23 2549 40 N พบหญ้าทะเลหลายชนิดแพร่กระจายในบริเวณนี้ -
2552 40 N
บ้านเกาะกำ 73.77 2549 15 N แนวหญ้าทะเลเชื่อมต่อกับแนวปะการัง การกัดเซาะจากคลื่นสึนามิ
2552 0 0
บ้านเกาะล้าน 41.22 2549 70 +++ แนวหญ้าทะเลเชื่อมต่อกับแนวปะการัง  
2552 0 -
พังงา      
เกาะไข่ใหญ่ 8.23 2549 10 N เป็นแหล่งทำการประมงกุ้งเคย ตะกอนดินจากกิจกรรมบนฝั่ง
2552 0 -
บ้านทุ่งนางดำ 2,420 2549 45 ++ พบหญ้าทะเลบนแนวสันทราย มีความหลากหลายของชนิดหญ้ามาก แหล่งหอยชักตีน ปลิงทะเล ลูกกุ้ง ลูกปลา และพะยูน ถูกกัดเซาะจากคลื่นสึนามิ
2552 50 N
2553 45 ++
เกาะพระทอง 4,512.03 2549 50 ++ พบเฉพาะฝั่งตะวันออกและบริเวณชายฝั่งตะวันตกของอำเภอคุระบุรี โดยเฉพาะเกาะเต่า-เกาะปอ ตะกอนทับถมจากคลื่นสึนามิ ด้านหัวเกาะพระทอง
2550 60 ++
อ่าวสอม 576 2549 55 ++ พบหญ้าทะเลหลายชนิด  แหล่งหอยชักตีน ตัวอ่อนสัตว์น้ำ และเต่าทะเล การปกคลุมลดลง ตะกอนดินจากกิจกรรมชายฝั่ง มีแนวโน้มเสียหายต่อเนื่อง
2553 35 N
แหลมสอม-แหลมเรียง 306 2549 80 +++ ความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 80%(2549) แหล่งหอยชักตีน อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และเต่าทะเล ตะกอนดินจากกิจกรรมชายฝั่ง มีแนวโน้มเสียหายต่อเนื่อง
2553 50 ++
บ้านทับละมุ 5 2549 50 ++ พบหญ้าทะเลปกคลุมลดลงร้อยละ 40 ตะกอนดินจากกิจกรรมชายฝั่ง มีแนวโน้มเสียหายต่อเนื่อง
2552 10 N
บ้านบางขวัญ 135 2549 45 ++ แนวหญ้าทะเลริมชายฝั่ง มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
2553 80 +++
บ้านท่านุ่น 662 2549 45 ++ พบหญ้าทะเลหลายชนิด เป็นแหล่งหอยชักตีนและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ตะกอนดินจากกิจกรรมชายฝั่ง มีแนวโน้มเสียหายต่อเนื่อง
2553 30 N
อ่าวโต๊ะหนง 655 2549 30 N แหล่งลูกกุ้ง ลูกปลา และเลี้ยงสัตว์น้ำ(กระชังปลา)  
2553 80 +++
เกาะละวะใหญ่ 43 2549 15 N แนวหญ้าทะเลเชื่อมต่อกับแนวปะการัง การเล่นน้ำของนักท่องเที่ยวในแนวหญ้าทะเล
2553 20 ++
บ้านอ่าวมะขาม 27.99 2549 10 N    
แหลมหาดหอย 2,577 2549 60 +++ แนวหญ้าทะเลริมเกาะยาวน้อย พบหญ้าทะเลหลายชนิด  
2551 65 +++
แหลมหาด 1,860 2549 80 +++ หญ้าทะเลบนแนวสันทราย พบหญ้าทะเลหลายชนิด แหล่งหอยชักตีน ปลิงทะเล พะยูน เต่าทะเล และโลมา การกัดเซาะจากสึนามิ
2551 65 +++
แหลมคลองบอน 875 2551 20 N แนวหญ้าทะเลด้านตะวันออกของเกาะยาวใหญ่ บนแนวสันทราย  
อ่าวโล๊ะปาไล 945 2549 50 ++ พบหญ้าทะเลหลายชนิด พะยูน เต่าทะเล และโลมา การกัดเซาะจากคลื่นสึนามิ
2551 65 +++
เกาะผ้า 33.96 2549 15 N แนวหญ้าทะเลนอกชายฝั่ง พบหญ้าทะเลหลายชนิด ตะกอนทรายทับถมจากคลื่นสึนามิ
2552 5 N
เกาะสุรินทร์ 120 2549 30 N แนวหญ้าทะเลฝั่งตะวันออกของเกาะ พบฟื้นตัวขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน การฟอกขาวของปะการังและการปกคลุมของสาหร่ายใบมะกรูดหิน
2553 60 ++
อ่าวสน 200 2550 75 +++    
ภูเก็ต      
บ้านป่าคลอก-บางโรง 1,905 2549 50 ++ ชายฝั่งเป็นลักษณะอ่าวเปิด หญ้าทะเลส่วนใหญ่จะโผล่พ้นน้ำในขณะน้ำลง พบหญ้าทะเลหลายชนิด ตะกอนดินจากชายฝั่ง
2550 50 ++
2552 60 ++
2553 50 ++
อ่าวภูเก็ต 625.29 2549 20 N ในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยวและการพัฒนาชายฝั่งในรูปแบบต่างๆ ทำให้หญ้าทะเลเสื่อมโทรมลง ปัจจุบันคงเหลือหญ้าคาทะเลเพียงชนิดเดียวและมีการแพร่กระจายเป็นหย่อมๆ การท่องเที่ยว ตะกอนดินทรายจากการทำเหมืองแร่เดิม
เกาะตะเภาใหญ่ 182.94 2549 50 ++ เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่อยู่ในระดับค่อนข้างน้ำลึกขึ้นติดต่อกับแนวปะการัง โดยพบที่ระดับความลึกตั้งแต่ 4.0-5.0 เมตร  
บริเวณอ่าวตังเข็น 54.26 2549 30 ++ เป็น อ่าวเล็กๆ พบหญ้าทะเลแพร่กระจายเป็นหย่อมๆ ไม่สม่ำเสมอเป็นแนวยาวประมาณ 600 เมตรขนานกับฝั่ง โดยหญ้าทะเลพบถึงระยะ 160 เมตร ส่วนด้านนอกเป็นแนวปะการัง  
ท่าฉัตรชัย 146 2549 40 N    
2552 40 N
บ้านคลองหยิด 8.76 2549 40 N    
2553 0  -
บ้านคอเอน 48 2549 10 N แนวหญ้าทะเลนอกฝั่งเล็กน้อย พบหญ้าคาทะเลเพียงชนิดเดียว มีแนวโน้มฟื้นตัว
2553 20 N
บ้านบางดุก-แหลมทราย 40 2549 30 N   มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
2553 20 N
เกาะนาคาใหญ่ 9.5 2549 80 +++ แนวหญ้าทะเลเชื่อมต่อกับแนวปะการัง  
อ่าวฉลอง 60.39 2549 20 N เป็นแหล่งอนุบาลลูกปลาเก๋า และทำประมงอวนลอย พบหญ้าคาทะเลเพียงชนิดเดียว ตะกอนดินจากชายฝั่ง
หาดยางใน 13.05 2549 50 ++ พบหญ้าคาทะเลเพียงชนิดเดียว  
เกาะโหลน-อ่าวยน 1,500 2549 50 ++ แนวหญ้าทะเลติดต่อกับแนวปะการัง พบหญ้าทะเลหลายชนิด  
กระบี่      
บ้านเตาถ่าน-เขาทองใต้ 322 2549 60 ++ แนวหญ้าทะเลริมชายฝั่งและปากแม่น้ำ เป็นแหล่งทำประมงโป๊ะน้ำตื้น ตะกอนดินจากฝั่ง และการสร้างโป๊ะในแนวหญ้าทะเล ทำให้พื้นที่หญ้าทะเลลดลง
2553 40 N
บ้านท่าเลน 850 2549 65 +++ แนวหญ้าทะเลริมฝั่ง พบหญ้าทะเลหลายชนิด ตะกอนดินจากฝั่ง เรืออวนรุน ลอบสายจับปู
2553 80 +++
อ่าวท่าเลน 833 2549 60 +++ พื้นที่หญ้าทะเลในอ่าวท่าเลน  
2553 80 +++
แหลมหางนาค 826 2549 50 +++   มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
2553 80 +++
เขาสามหนวย 578 2549 15 N แนวหญ้าทะเลบนพื้นทราย นอกหาดนพรัตน์ธารา เรือหางยาวเพื่อการท่องเที่ยวจำนวนมาก พัดรากของหญ้าทะเลหลุดลอย
2553 30 N
อ่าวน้ำเมา 64 2549 5 N แนวหญ้าทะเลเชื่อมต่อกับแนวปะการัง  
2553 5 N
เกาะด้ามหอก-ด้ามขวาน 3.24 2549 5 N    
2553 0 -
ปากคลองจิหลาด 20 2549 10 N    
2553 10 N
แหลมหิน 595 2545 40 N หญ้าทะเลบนแนวสันทราย ตะกอนดินจากฝั่ง แนวหญ้าเสียหายอย่างต่อเนื่อง
2548 65 +++
2549 45 ++
2550 45 ++
2551 40 N
เกาะสีบอยา-เกาะปู 9,650 2543 65 +++ แนวหญ้าทะเลกระจายอยู่ระหว่างเกาะต่างๆ โดยพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดบริเวณข้างเกาะสีบอยา  
2545 45 ++
2548 55 ++
2549 70 +++
2550 65 +++
2551 60 ++
2552 65 +++
เกาะลันตาใหญ่ (ฝั่งตะวันตก) 147.27 2549 15 N    
เกาะลันตาใหญ่ (ฝั่งตะวันออก) 1,063 2551 50 ++ พื้นที่หญ้าทะเลกลางอ่าว พบหญ้าคาทะเลเป็นชนิดเด่น เป็นแหล่งทำประมงพื้นบ้าน  
เกาะศิลามาก-ปากคลอง 107.38 2549 25 N พื้นที่หญ้าทะเลตอนบนของเกาะศิลามาก พบหญ้าคาทะเลเป็นชนิดเด่น  
บ้านบ่อม่วง 864.05 2549 15 N    
ตรัง            
บ้านแหลมไทร 618 2549 50 ++   ตะกอนจากดินบนฝั่ง
บ้านปากคลอง-เกาะผี 1169.71 2549 15 N แนวหญ้าทะเลบริเวณบ้านปากคลองจนถึงตอนบนของเกาะผี พบหญ้าคาทะเลเพียงชนิดเดียว ตะกอนดินจากชายฝั่ง
เกาะมุก 6,724 2549 50 ++ แหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่ระหว่างเกาะมุกและหาดเจ้าไหม พบหญ้าทะเลหลายชนิด แนวหญ้าตอนบนถูกตะกอนทับถมจากบนฝั่ง
ปากคลองเจ้าไหม 354 2549 40 N    
เกาะตะลิบง 12,200 2549 70 +++ แนวหญ้าทะเลขนาดใหญ่ทางตะวันออกถึงเยื้องตอนใต้ของเกาะ พบพะยูนในบริเวณนี้บ่อยครั้ง การประมงเรืออวนรุน
2551 70 +++
เกาะสุกร 127 2549 15 N    
สตูล      
เกาะลิดี 299 2549 55 ++ พบหญ้าทะเลกระจายระหว่างเกาะทั้งสอง เป็นพื้นที่ใหญ่ทางตอนใต้ของเกาะ และเชื่อมต่อกับแนวปะการัง  
เกาะตันหยง 1,136 2549 20 N มีพื้นที่ขนาดใหญ่ทางตะวันออกของเกาะตันหยง เป็นแหล่งหากินของโลมา  
เกาะสาม 3 2549 20 N    
เกาะผี 238 2549 15 N    
เกาะตันหยงโป 34 2549 60 ++    
เกาะเกวเล็ก 5 2549 20 N    
ปากบารา 30 2550 35 N แนวหญ้าทะเลบริเวณปากแม่น้ำ เชื่อมต่อกับป่าชายเลน  
บ้านบากันโต๊ะทิด 400 2550 15 N ขึ้นเชื่อมต่อกับป่าชายเลน มีตะกอนมาก เนื่องจากใกล้ป่าชายเลน

 

ตารางสถานภาพหญ้าทะเล

ระดับ รายละเอียด
+++ สมบูรณ์มาก, ค่อนข้างสมบูรณ์
++ สมบูรณ์ปานกลาง
+ เสื่อมโทรม, ค่อนข้างเสื่อมโทรม
N สมบูรณ์ตามธรรมชาติ
- ไม่พบหญ้าทะเล

 

ปัญหาเสื่อมโทรมของทรัพยากรแหล่งหญ้าทะเล ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แหล่งหญ้าทะเลมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง มีสาเหตุมาจาก

  1. การพัฒนาชายฝั่งทะเลที่มีผลก่อให้เกิดตะกอน และน้ำเสียตามชายฝั่งทะเล เช่น การทำเหมืองแร่ การตัดถนน โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนบ้านเรือน และการทำนากุ้ง
  2. การทำประมงที่ใช้เครื่องมือประมงทำลายแหล่งหญ้าทะเลและสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ เช่น เรืออวนลากขนาดเล็ก เรืออวนรุน เรืออวนทับตลิ่งขนาดใหญ่ เป็นต้น
  3. ภัยธรรมชาติ พายุ คลื่นลม มักเกิดขึ้นตามฤดูกาล โดยเฉพาะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และการเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ ทางชายฝั่งทะเลอันดามันเมื่อ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้หญ้าทะเลได้รับผลกระทบร้อยละ 5 ของพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน 

 

ที่มา: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน. 2552. แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งหญ้าทะเล. [ออนไลน์] http://km.dmcr.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=111:2009-05-06-09-26-40&catid=91:2009-02-16-08-36-41&Itemid=28.