พิมพ์

อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ

 

        อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญและมีส่วนเชื่อมโยงกับธุรกิจการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวี ตลอดจนเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นอีกมากมาย เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์เดินเรือ อุตสาหกรรมสีและเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เครื่องยนต์เรือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

         กรมเจ้าท่า ได้แบ่งประเภทเรือไทยตามลักษณะการใช้งานเป็น 23 ประเภท ได้แก่  เรือประมง เรือบรรทุกสินค้าตู้ เรือบรรทุกสินค้าทั่วไป บรรทุกน้ำมัน บรรทุกแก๊ส เรือขุด/ดูดแร่ เรือดูดทราย เรือโดยสาร เรือลากจูง เรือสำราญและกีฬา เรือยอร์ช เรือตรวจการณ์/นำร่อง เรือขุด/รักษาร่องน้ำ เรือสำรวจ เรือดับเพลิง เรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น เรือบรรทุกแก๊ส-น้ำมัน เรือดัน-จูง เรือโดยสาร-สินค้า เรือลำเลียงแม่น้ำ เรือลำเลียงทะเล เรือโดยสาร-ประจำทาง เรือตอกเสาเข็ม/ปั้นจั่น และเรืออื่นๆ ซึ่งเรือไทยส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 50 ตันกรอส คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของเรือที่จดทะเบียนทั้งหมด ดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 : จำนวนเรือทั้งหมดจำแนกตามการใช้และขนาดตันกรอส

ลำดับ

ประเภท

0.01 - 50

50.01 -200

200.01 -500

500.01 -1,000

1,000 ขึ้นไป

รวม (ลำ)

1

ประมง

20,974

4,744

279

19

8

26,024

2

บรรทุกสินค้าตู้

1

0

10

1

25

37

3

บรรทุกสินค้าทั่วไป

3,888

256

62

37

200

4,443

4

บรรทุกน้ำมัน

28

122

121

93

156

510

5

บรรทุกแก๊ส

0

0

0

37

43

80

6

ขุด/ดูดแร่

31

5

1

1

1

39

7

ดูดทราย

332

26

12

0

0

370

8

โดยสาร

12,456

485

86

19

17

13,063

9

ลากจูง

81

19

1

1

0

102

10

สำราญ และ กีฬา

4,093

20

2

0

0

4,115

11

เรือยอร์ช

829

15

0

0

0

844

12

ตรวจการณ์/นำร่อง

442

32

3

0

0

477

13

ขุด/รักษาร่องน้ำ

24

21

21

6

13

85

14

สำรวจ

28

13

7

1

3

52

15

ดับเพลิง

34

0

0

0

0

34

16

บรรทุกสินค้าห้องเย็น

921

244

79

0

24

1,268

17

บรรทุกแก๊ส-น้ำมัน

2

0

0

0

0

2

18

ดัน-จูง

1,234

288

70

1

0

1,593

19

โดยสาร-สินค้า

1,968

31

4

1

2

2,006

20

ลำเลียงแม่น้ำ

1,771

1,611

145

22

4

3,553

21

ลำเลียงทะเล

22

185

1,534

1,025

84

2,850

22

โดยสาร-ประจำทาง

24

0

0

0

0

24

23

ตอกเสาเข็ม/ปั้นจั่น

9

28

14

6

16

73

24

อื่นๆ

2,174

222

88

33

66

2,583

 

รวม

51,366

8,357

2,539

1,303

662

64,227

ที่มา : สำนักมาตรฐานทะเบียนเรือ กรมเจ้าท่า. ข้อมูล ณ วันที่ 27/5/2553

 

มูลค่าของอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ

        รายได้จากอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือในแต่ละปีมีมูลค่ามหาศาล ทั้งจากการต่อเรือ ซ่อมบำรุงเรือ การผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ภายในเรือ ตลอดจนอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องต่างๆ อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพจะช่วยลดการสูญเงินตราออกนอกประเทศ จากการสั่งซื้อหรือนำเข้าเรือหรือต้องส่งเรือไปซ่อมทำในต่างประเทศ  ในทางกลับกันจะช่วยเพิ่มรายได้ของประเทศจากการต่อเรือที่รับคำสั่งต่อเรือจากต่างประเทศด้วย อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือจะช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กิจกรรมการค้าและการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ นับเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่นขันของประเทศในตลาดโลกอีกด้วย

        ปริมาณการต่อเรือมีจำนวนค่อนข้างต่ำแต่ก็การเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆตามลำดับโดยเฉพาะเรือไทยจากจำนวน 11 ลำในปี พ.ศ. 2546 เป็น 38 ลำในปี พ.ศ.2549 ส่วนเรือต่างชาติมีปริมาณค่อนข้างคงที่ โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่า ในช่วงปี 2547-2548 ส่วนมูลค่ารวมมีค่อนข้างสูง และเพิ่มขึ้นจากประมาณ 605 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2546 เป็นประมาณ 3,800 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2549 โดยมีมูลค่าจากการต่อเรือไทยมากกว่าเรือต่างชาติ ดังรายละเอียดในตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2 ปริมาณการต่อเรือและรายได้จากการต่อเรือปี 2546 - 2549

ประเภท

ข้อมูล

2546

2547

2548

2549

เรือไทย

จำนวน (ลำ)

11

14

27

38

 

รายได้ (ล้านบาท)

237.25

643.68

1,235.27

2,123.39

เรือต่างชาติ

จำนวน (ลำ)

9

8

4

8

 

รายได้ (ล้านบาท)

367.35

315.30

446.43

1,687.82

รวมจำนวน (ลำ)

20

22

31

46

รวมรายได้ (ล้านบาท)

604.60

958.98

1,681.70

3,811.21

ที่มา  รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการผลักดันอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือแบบครบวงจร. 2550.

 

          ปริมาณการซ่อมเรือมีจำนวนค่อนค้างคงที่เมื่อเทียบกับการต่อเรือ เพิ่มขึ้นจากจำนวน 284 ลำในปี พ.ศ. 2546 เป็น 336 ลำในปี พ.ศ.2547 และลดลงตามลำดับจากปี พ.ศ.2547 ถึง ปีพ.ศ.2549 (ตารางที่2) ส่วนเรือต่างชาติมีปริมาณค่อนข้างคงที่ โดยเพิ่มเล็กน้อย ในช่วงปี 2546-2548 ส่วนมูลค่ารวมมีค่อนข้างสูง และเพิ่มขึ้นไม่มากเท่ามูลค่าจากการต่อเรือ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากประมาณ 1,157 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2546 เป็นประมาณ 2,013 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2549 โดยมีมูลค่าจากการซ่อมเรือไทยน้อยกว่าเรือต่างชาติ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3

 

ตารางที่ 3 ปริมาณการซ่อมเรือและรายได้จากการซ่อมเรือ ปี 2546 – 2549

ประเภท

ข้อมูล

2546

2547

2548

2549

ไม่ระบุ

จำนวน (ลำ)

1

2

 

 

 

รายได้ (ล้านบาท)

 

15.00

 

 

เรือไทย

จำนวน (ลำ)

284

336

289

247

 

รายได้ (ล้านบาท)

549.84

722.66

760.13

606.92

เรือต่างชาติ

จำนวน (ลำ)

127

156

172

161

 

รายได้ (ล้านบาท)

607.64

1,053.05

1,449.69

1,406.71

รวมจำนวน (ลำ)

412

494

461

408

รวมรายได้ (บาท)

1,157.48

1,790.71

2,209.82

2,013.63

ที่มา  รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการผลักดันอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือแบบครบวงจร. 2550.

 

สถานการณ์ด้านอู่เรือ

      กล่าวคืออุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือแม้จะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจการพาณิชยนาวี แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่างจากกิจการพาณิชยนาวีอื่นๆ กล่าวคือ ในขณะที่การขนส่งทางทะเลหรือท่าเรือเป็นกิจกรรมให้บริการ การต่อเรือและซ่อมเรือเป็นกิจกรรมด้านการผลิต อุตสาหกรรมต่อเรือ และซ่อมเรือมีมูลค่าน้อยมาก คิดเป็น 0.048 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้เป็นการสนับสนุนกองเรือไทย ก่อให้เกิดการจ้างงาน และเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่นๆ มากมาย นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่มีการลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ และระยะเวลาคืนทุนนาน ประกอบกับมีตลาดแข่งขันสูงในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ และต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาลด้านเงินทุนและการแข่งขันทางตลาด แต่ในทางกลับกัน อุตสาหกรรมต่อเรือของไทยได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐบาลน้อยมาก ทำให้มีขีดความสามารถในการต่อเรือขนาดเล็กกว่า 500 ตันกรอสมีจำกัด และไม่สามารถแข่งกับตลาดโลกได้

 

ตารางที่ 4 รายได้อุตสาหกรรมต่อเรือ/ซ่อมเรือเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้าทางทะเลปี 2545 – 2549

หน่วย : ล้านบาท

ปี

มูลค่าการค้าทางทะเล

รายได้อูตสาหกรรมต่อเรือ/ซ่อมเรือ

สัดส่วน

2545

3,686,461

2,935

0.080%

2546

4,192,588

4,024

0.096%

2547

5,117,800

4,533

0.089%

2548

6,120,901

5,767

0.094%

ที่มา : Transport Statistics 1991,1997. และ การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ. [สายตรง].  กระทรวงคมนาคม. แหล่งที่มา :http://porta.mot.go.th [4 กันยายน 2550] และข้อมูลโรงงานแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม. [สายตรง]. กรมโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งที่มา : www.diw.go.th . ตรวจข้อมูลงบการเงิน . [สายตรง]. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แหล่งที่มา :http://www.dbd.go.th . [19-26 กันยายน 2550]. และสมาคมต่อเรือแลซ่อมเรือไทย

 


    ตันกรอส (Gross Tonnage : gt)  

คือ จำนวนตันรวมของเรือหรือเรือลำเลียง คำนวณตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการวัดขนาดของเรือ ค.ศ. 1969

 

    เดดเวทตัน (Deadweight Tonnage : dwt)

คือ น้ำหนักที่เรือสามารถใช้ในการบรรทุกทุกสิ่งรวมทั้งน้ำหนักสินค้า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำจืด เป็นต้น ที่เรือจะรับได้โดยปลอดภัย มีหน่วยเป็นเมตริกตัน

 

 


ที่มา : 

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการผลักดันอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือแบบครบวงจร. สืบค้นจาก http://www.oie.go.th/other.asp (5 ก.ค.54)

สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย. สืบค้นที่ http://www.tsba.or.th/page8.html (5 ก.ค.54)