พิมพ์

 

ปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี

 

          น้ำทะเลเปลี่ยนสี (Red Tides) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนบางชนิด จนทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีไป อาจมีทั้งที่เป็นประโยชน์และมีผลระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งในบางครั้งเป็นเหตุให้สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมากได้เนื่องจากคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลง เช่น ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำลดลงต่ำมาก หรือ แพลงก์ตอนพืชปล่อยสารพิษบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำออกมาปริมาณมาก (biotoxin)

          การเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีมีความสัมพันธ์โดยตรงกับกิจกรรมมนุษย์บริเวณชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณอินทรีย์สารบริเวณชายฝั่ง เช่น น้ำเสียจากบ้านเรือนชุมชน จากกิจกรรมการเกษตร อุตสาหกรรม และการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ในประเทศไทยมีรายงานการพบปรากฏการณ์นี้มานานแล้ว  ซึ่งชาวบ้านมักเรียกว่าปรากฏการณ์ ”ขี้ปลาวาฬ”  เพราะมองเห็นแพลงก์ตอนจำนวนมากเป็นฝ้าลอยอยู่บนผิวน้ำ  และเริ่มมีรายงานว่าพบน้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง เขียว และน้ำตาล สีที่เห็นเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดแพลงก์ตอนที่เกิดขึ้น

 

        แพลงก์ตอนพืชที่เป็นอันตราย (มหาวิทยาลัยบูรพา, สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล. 2543. จุลสารสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล)

        สาหร่ายพิษ คืออะไร (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, เครือข่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม พืชและสัตว์น้ำ. 2547. นานาสัตว์น้ำ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1(9))

 

 

ผลกระทบของปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี

 

        ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลและระบบนิเวศทางทะเลในระดับความรุนแรงต่างกัน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในทะเล ได้แก่ ออกซิเจนในน้ำบริเวณนั้นลดลง เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนทำให้มีการใช้ออกซิเจนมากขึ้น เมื่อแพลงก์ตอนเหล่านั้นตายลงสารอินทรีย์ในแพลงก์ตอนจะกลายเป็นแหล่งอาหารที่ดีของแบคทีเรีย มีการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียมากขึ้น ทำให้อัตราการใช้ออกซิเจนในน้ำสูงขึ้นตามไปด้วย  และเซลล์ของแพงก์ตอนพื้ชที่ลอยในน้ำจะลอยเป็นฝ้าหรือกลุ่มก้อนในน้ำ บดบังการส่องของแสงลงไปในน้ำ

        การลดลงของออกซิเจนในน้ำและความเข้มของแสงที่ส่องผ่านในน้ำลดลง มีผลให้จำนวนสัตว์น้ำ ความหลากหลายและความชุกชุมของสัตว์น้ำเปลี่ยนแปลงไป กระทบต่อกิจกรรมการประมงและกิจกรรมการท่องเที่ยวในบริเวณนั้น ถ้าแพลงก์ตอนที่เพิ่มจำนวนขึ้นสามารถสร้างสารพิษได้ อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำ และสารพิษจะถูกถ่ายทอดผ่านสายใยอาหารจนถึงมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้ายด้วย

 

ชนิด

สารชีวพืษหลัก
อาการความเป็นพิษ

พิษอัมพาต

(PSP)

แซกซิท็อกซิน (Saxitoxins)

และอนุพันธุ์

พิษมีความรุนแรงต่อระบบประสาท ซึ่งหลังจากได้รับพิษประมาณ 30 นาที จะเริ่มปวดแสบปวดร้อนตามริมฝีปาก ลิ้นและใบหน้า ลามลงถึงคอ แขน ขา จากนั้นจะมีอาการชา เคลื่อนไหวลำบากคล้ายเป็นอัมพาต ในกรณีรุนแรงจะเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจไม่ทำงาน (ภายใน 24 ชั่วโมง)

พิษที่ทำให้ความจำเสื่อม (ASP)

กรดโดโมอิก

(Domoic acid)

อาการเริ่มภายใน 24 ชั่วโมง มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียนและง่วงซึม เวียนศีรษะ ในขั้นรุนแรงอาจมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สูญเสียความทรงจำหรืออาจเสียชีวิตได้
พิษต่อระบบประสาทรับความรู้สึก (NSP)
เบรวี่ท็อกซิน (Brevetoxins)
ในกรณีไม่รุนแรงหลังจากได้รับพิษเข้าไปประมาณ 3-6 ชั่วโมง จะมีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้อไม่มีแรงและปวดตามข้อ ในขั้นรุนแรงจะมีอาการหายใจติดขัด สายตาพร่ามัว และการรับสัมผัสร้อนเย็นเปลี่ยนเป็นตรงข้าม

พิษซิกัวเทอร่า

(CFP)

ซิกัวท็อกซิน (Ciguatoxins)
ในกรณีไม่รุนแรงหลังจากได้รับพิษเข้าไปประมาณ 12-24 ชั่วโมง จะมีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ในขั้นรุนแรงจะมีอาการเสียวตามมือและเท้า อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตต่ำ และอาจเสียชีวิตเนื่องจากระบบการหายใจล้มเหลว

พิษที่เกิดจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CTP)

ไมโครซิสติน (Microcystin)

โนดูลาริน (Nodularin)

ในกรณีไม่รุนแรงจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ สายตาพร่ามัว อาเจียน ท้องร่วง และชัก ส่วนกรณีที่มีอาการรุนแรง สารพิษจะออกฤทธิ์ทำลายเซลล์ตับและทำให้โรคตับอักเสบอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังเป็นสารพิษที่กระตุ้นการเกิดมะเร็ง

 

 

สถานการณ์การเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสีในประเทศไทย

 

        ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในประเทศไทยพบเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยพบแพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี ได้แก่ ไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans และ Ceratium furca  กลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Trichodesmium spp.

 

Ceratium furca             Noctiluca
Ceratium furca   Noctiluca sp.

 

        เริ่มมีรายงานในอ่าวไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2495 แต่มีผู้สนใจในเรื่องนี้น้อยมากจนกระทั่งมีรายงานความเป็นพิษเนื่องจากแพลงก์ตอนพืช เมื่อปี พ.ศ.2526 จึงทำให้มีคนสนใจและศึกษากันเพิ่มมากขึ้น

 

alt แผนที่บน Google Earth

 

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีที่พบในประเทศไทย ปี 2500-2552

ตารางที่ 1 ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีที่พบในประเทศไทย ปี 2557-2558

สถานที่เกิด ปริมาณแพลงก์ตอนที่พบ คุณภาพน้ำโดยสรุป วันที่เก็บข้อมูล
หาดหน้าโรงแรมกะ
ตะธาน หาดกะตะน้อย จังหวัดภูเก็ต
แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลท
ชนิด  Noctiluca  scintillans  ความหนาแน่นประมาณ 66,000  เซลล์/ลิตร ไม่มีรายงานสัตว์น้ำตายเนื่องจากเป็นการสะพรัั่งในพื้นที่แคบและในช่วงเวลาสั้น
คุณภาพน้ำโดยทั่วไป
พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
มกราคม 57
บริเวณแหลมหนัน
อ้าเภอเกาะสมุย         จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจล
แลตชนิด Noctiluca scintilans ความหนาแน่นเฉลี่ย 3,491เซลล์/ลิตร ซึ่งเป็นชนิดที่ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสี เขียว
  กุมภาพันธ์ 57
บริเวณชายฝั่งท่าเรือ
แหลมฉบังถึงหาด พัทยใต้ จังหวัดชลบุรี
แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น ได้แก่
แพลงก์ตอนกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans ความหนาแน่น ประมาณ 23,400 เซลล์/ลิตร, Ceratium furca ความหนาแน่น ประมาณ 18,533 เซลล์/ลิตร และ แพลงก์ตอนกลุ่มไดอะตอม Pseudo- nitzschia spp. ความหนาแน่นประมาณ 17,316 เซลล์/ลิตร
  11-12 กันยายน
2557
ลานหินขาว หาดแม่รำพึง จังหวัดระยอง แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นได้แก่ สาหร่าย สีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Trichodesmium erythraeum ความหนาแน่นประมาณ 55,154 เซลล์/ลิตร Chaetoceros pseudosurvisetus ความหนาแน่นประมาณ 80,939 เซลล์/ลิตร และ Odontella sinensis ความหนาแน่นประมาณ 55,154
เซลล์/ลิตร
อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 1 เพื่อ การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ (กรมควบคุมมลพิษ,2549) 19 เมษายน
2558
ชายฝั่งจังหวัด เพชรบุรี
สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
แพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต
เป็นสาเหตุของปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในครั้งนี ได้แก่ Noctiluca scintillans
  20-21 เมษายน
2558
ชายฝั่งจังหวัด เพชรบุรี สมุทรสงคราม และ สมุทรสาคร แพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตเป็นสาเหตุของปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในครั้งนี ได้แก่ Noctiluca scintillans อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล (กรมควบคุมมลพิษ,2549) คือไม่น้อยกว่า 4 มิลลิกรัม/ ลิตร 22-24 เมษายน
2558
ชายหาดสอ ฐานทัพเรือสัตหีบ แสมสาร จ.ชลบุรี แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิด
Trichodesmium erythraeum
อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรมควบคุมมลพิษ,2549) 28 พฤษภาคม
2558
ชายหาดหน้าศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นได้แก่ สาหร่าย สีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Trichodesmium erythraeum มีความหนาแน่น 1,660,812,860 เซลล์/ลิตร (เกินความหนาแน่นที่ควรเฝ้าระวัง 10,000เซลล์/ลิตร) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรมควบคุมมลพิษ,2549) 30 พฤษภาคม
2558
ชายหาดจอมเทียน     จังหวัดชลบุรี พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น คือ ไดอะตอมชนิด Chaetoceros spp. (เกินความหนาแน่นที่ควรเฝ้าระวัง 10,000 เซลล์/ลิตร) นอกจากนั้นยังพบสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกลุ่ม Ciliate protozoa สกุล Chlamydodon sp. เป็นจำนวนมาก อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรม ควบคุมมลพิษ,2549) 2 มิถุนายน
2558
ชายหาดบางแสน 
จังหวัดชลบุรี
พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นคือ สาหร่าย
กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans ความหนาแน่น 2,244-183,714 เซลล์/ ลิตร และพบสาหร่ายกลุ่มไดอะตอม Chaetoceros spp. เป็นชนิดเด่นความ
หนาแน่น 160,449 เซลล์/ลตร
อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรม ควบคุมมลพิษ,2549) 6 กรกฎาคม
2558
ชายหาดบางแสน 
จังหวัดชลบุรี
พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นคือ สาหร่าย
กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans ความหนาแน่น 2,147-732,000 เซลล์/ลิตร และพบสาหร่ายกลุ่มไดอะตอม Chaetoceros spp.เป็นชนิดเด่นความ
หนาแน่น 481,500 เซลล์/ลตร
อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรม ควบคุมมลพิษ ,2549) 9 สิงหาคม
2558
เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นคือ สาหร่ายกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans ความหนาแน่น 0-2,261เซลล์/ลิตร พบ สาหร่ายกลุ่มไดอะตอม Chaetoceros spp.เป็นชนิดเด่นความหนาแน่น 1,297- 4,915 เซลล์/ลิตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ (กรม ควบคุมมลพิษ ,2549) 28 สิงหาคม
2558
หาดทุ่งวัวแล่น 
จังหวัดชุมพร
พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นคือ สาหร่ายกลุ่ม   ไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans ความหนาแน่น 27,291 เซลล์/ลิตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 1 เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (กรมควบคุมมลพิษ ,2549) 12 ตุลาคม
2558

ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. [ออนไลน์]. 2558. แหล่งที่มา http://www.dmcr.go.th/attachment/download/download.php?WP=oKE3MRkCoMOahKGtnJg4WaN2oGM3Z0jloH9axUF5nrO4MNo7o3Qo7o3Q