พิมพ์


เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (Non-hunting Area)

              เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หมายถึง อาณาบริเวณพื้นที่ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ให้เป็นที่ทอยู่อาศัยของสัตว์ป่า หรือเป็นที่ที่สัตว์ป่าต้องการใช้สำหรับกิจกรรมบางอย่างในการดำรงชีวิต เช่น เป็นที่ผสมพันธุ์ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน เป็นแห่งอาหาร เป็นที่ลงพักระหว่างเดินทางย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่หายากหรือถูกคุกคามให้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นได้อย่างปลอดภัย สามารถดำรงพันธุ์ต่อไปได้ตามธรรมชาติ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีดังนี้

- คุ้มครอง อารักขาสัตว์ป่าในพื้นที่ให้ได้รับความปลอดภัย

- เพื่อรักษาและฟื้นฟูสภาพธรรมชาติให้เหมาะสมเอื้อต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า

- เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืนจากการอนุรักษ์สัตว์ป่าและระบบ นิเวศในพื้นที่

ที่มา: www.dnp.go.th/wildlifenew/department2.aspx


      พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ดังนี้

         มาตรา 42 บริเวณสถานที่ที่ใช้ในราชการหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือประชาชนใช้ร่วม กันแห่งใด รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการจะกำหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าชนิด หรือประเภทใดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

         เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทใดแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้

         (1) ล่าสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทนั้น

         (2) เก็บหรือทำอันตรายแก่รังสัตว์ป่าซึ่งห้ามมิให้ล่านั้น

         (3) ยึดถือครอบครองที่ดิน หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา ทำลายต้นไม้ หรือพฤกษชาติอื่น หรือขุดหาแร่ ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึง ท่วมทัน เหือดแห้ง เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี หรือเมื่ออธิบดีได้ประกาศอนุญาตไว้เป็นคราวๆในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งหนึ่ง แห่งใดโดยเฉพาะ

          ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานอื่นใดมีความจำเป็นต้องปฏิบัติ ตามกฎหมาย หรือปฏิบัติการเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางวิชาการในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานนั้นต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

    ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ได้รับการ ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่อยู่ในบริเวณชายฝั่งอยู่ 7 แห่ง แต่มีเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเพียงแห่งเดียวที่สามารถจัดเข้าอยู่ในข่ายเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลได้นั่นคือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง


1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา

              เขตห้ามล่าสัตว์ ป่าทะเลสาบสงขลาตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ในท้องที่ อ.สทิงพระ อ.กระแสสินธุ์ อ.สิงหนคร อ.ควนเนียง จ.สงขลา และ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง มีเนื้อที่ 227,916 ไร่ หรือ 364 ตารางกิโลเมตร ถูกประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2519 

              สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ มีเกาะเป็นจำนวนมาก เกาะใหญ่ๆ เช่น เกาะหมาก เกาะนางคำ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง และเกาะเล็กอีกหลายเกาะ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าพรุ ลักษณะอากาศ ตามปกติอากาศไม่ร้อนนัก เฉลี่ย 24-32 องศา ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-กันยายน 

              เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำมีพันธุ์พืชชนิดต่างๆ เช่น ไม้เสม็ดขาว หญ้าราว์โพธิ์ จาด(ลักษณะคล้ายกระจูด) หญ้าทะเล สาหร่าย และสัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งเป็นอาหารของนกชนิดต่างๆ และยังมีอ่าวบัวขึ้นอยู่บริเวณเกาะใหญ่ พื้นที่เกาะบริเวณที่เป็นควนเขามีพันธุ์ไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้จิกนม ไม้ตะเคียน เป็นต้น 

              ชุมชนรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสัตว์ป่าเป็นจำพวกนกน้ำ หลายชนิด มีทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่น นกอพยพได้แก่ นกเป็ดต่างๆ เช่น นกกาน้ำเล็ก นกนางนวล และอื่นๆ จะมีมากในเดือ ธันวาคม-เมษายน นกประจำถิ่น ได้แก่ นกอีโก้ง นกอีล้ำ นกกระสาแดง และอื่นๆ ซึ่งอาศัยอยู่ตลอดทั้งปี 

              มี ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดเป็นสังคมวัฒนธรรมเกษตรกรรม ซึ่งเกื้อกูลตอการยังชีพ มีการทำนา ทำประมงน้ำจืดประมงน้ำกร่อย ประมงน้ำเค็ม และการทำตาลโตนดเป็นหลัก

ที่มา: www.dnp.go.th/wildlifenew/animConserveDepView.aspx?depId=117

 

2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย

              เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยอำเภอควนขนุน จ.พัทลุงได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2518 แต่ประชาชนมักเรียกกันว่า “อุทยานนกน้ำทะเลน้อย” ซึ่งนับเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย รอบๆทะเลน้อย บริเวณพรุควนขี้เสียน เป็นแรมซาร์ไซต์แห่งแรกของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 285,625 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดคือ พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ (ทะเลน้อย) ประมาณ 17,500 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลน้อยเป็นพื้นที่ราบริมทะเลสาบ ประกอบด้วย นาข้าว ป่าพรุ ทุ่งหญ้า ตัวทะเลน้อยกว้างประมาณ 5 กิโลเมตร ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร มีพืชน้ำปกคลุม เช่น ผักตบชวา กง กระจูดหนู บัวต่างๆ และพืชลอยน้ำ ความลึกเฉลี่ย 1.25 เมตร สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่แบ่งออกเป็น นกน้ำ 287 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 26 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 6 ชนิด นกน้ำมีทั้งนกที่ประจำถิ่นและนกอพยพ เช่นนกกาบบัว นกกุลา นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกาเล็กน้ำ นกแขวก เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจในการเที่ยวชมอุทยานนกน้ำทะเลน้อยคือ พระตำหนักทะเลน้อย ทะเลบัวยามเช้า ฝูงนกน้ำนานาชนิด แหล่งทำรังวางไข่ของนกน้ำบริเวณอ่าวหม้อ หน่วยพิทักษ์ป่าควนขี้เสียน แหล่งทำรังวางไข่ของนกน้ำบริเวณควนทะเลมอง และจุดชมธรรมชาติบริเวณศาลานางเรียม

ที่มา: www.baanmaha.com/community/เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทะเลน้อย-จังหวัดพัทลุง-17187/

 

3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง

              เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเกาะลิบง จังหวัดตรัง นี้ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 27 มี.ค.2522มีเนื้อที่ 279,687 ไร่ โดยนกย้ายถิ่นจะเริ่มมากันในฤดูหนาว คือ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเมษายน นกที่สำคัญก็คือ นกหัวโตกินปู (Crab Plover) ซึ่งมักพบในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม นกทะเลขาเขียว ลายจุด (Nordmann's Greenshank) และนกชายเลนกระหม่อมแดง (Sharp-tailed Sandpiper) บน เกาะลิบงยังมีนกที่น่าสนใจอีก เช่น นกเค้าป่าหลังจุด (Spotted Wood-Owl) นกจาบคาคอสีฟ้า (Blue-throated Bee-eater) นกแต้วแล้วป่าโกงกาง (Mangrove Pitta) และนกเปล้าคอสีม่วง (Pink-necked Pigeon) จุดเฝ้าดูนกดีที่สุดคือ บริเวณหาดตูบ หรือจะดูที่แหลมจูโหย หรือนั่งเรือไปหาดพานช้าง ข้อมูล เพิ่มเติม >>

 

4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้งกระเบน

              เขต ห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้งกระเบน ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ.
2542 เป็นพื้นที่ป่าอยู่ในพื้นที่การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้ง กระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ทั้งป่าบกและป่าชายเลนประมาณ 11,370 ไร่

ที่มา: http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/kkb_5.html


5. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก

              เป็นพื้นที่ราบชายฝั่ง ทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณแหลมตะลุมพุก เป็นป่าเลนผืนใหญ่ขนาด 35,456 ไร่ ปกคุลมหนาแน่นกระจายทั่วพื้นที่ และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ป่าโดยเฉพาะนกน้ำและ นกป่าชายเลน ในปี พ.ศ. 2526 กรมป่าไม้ในขณะนั้นจึงได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ ป่า พ.ศ. 2503 ทำการสำรวจและประกาศจัดตั้งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งได้ประกาศโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2526

ที่มา: http://www.dnp.go.th/wildlifenew/animConserveDepView.aspx?depId=120



6. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งทะเล

              พื้นที่เดิมเคยเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเกาะกลาง และป่าสงวนแห่งชาติ ป่าหลังสอด และป่าควนบากันเกาะ และบริเวณชายหาดฝั่งทะเลน้ำตื้นและคลองช่องหลาด อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 30,633 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลเกาะกลาง และตำบลเกาะลันตาน้อย ได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2542

ที่มา: http://www.dnp.go.th/wildlifenew/animConserveDepView.aspx?depId=131


7. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง

              เดิมรู้จักกันในนาม “อ่าวบางเต็ง” มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 600 ตารางกิโลเมตร หรือ 375,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จ.พัทลุง และ จ. สงขลา