.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม


 

ข้อตกลงระหว่างประเทศ

 

         มนุษย์มีการใช้ประโยชน์จากทะเลมากมายมาเป็นเวลานานแล้วเช่น การคมนาคมทางทะเล การประมง และการท่องเที่ยว จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับทรัพยากรบนบกก็เริ่มลดน้อยลงทำให้เกิดความต้องการในการนำทรัพยากรทางทะเลมาใช้ประโยชน์มากขึ้น การขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศทำให้มีการขนส่งสินค้าทางทะเลมากขึ้น การใช้ประโยชน์จากทะเลที่มากขึ้นก่อให้เกิดปัญหามากมาย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถจำกัดอยู่ในทะเลอาณาเขตของประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากระบบนิเวศของโลกทั้งในทะเลและในอากาศมีความเชื่อมโยงกัน ปัญหาเหล่านี้ได้แก่ การลดลงของชั้นโอโซนการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก ฝนกรด มลพิษทางทะเล ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง เป็นต้น

         ประเทศต่างๆได้ตระหนักว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ตามลำพัง จึงได้ร่วมกันจัดทำตราสาร (Instrument) ที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของรัฐ และกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ทะเลในมิติต่างๆ รวมทั้งเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้ทะเลร่วมกัน ตราสารดังกล่าวอาจจัดทำขึ้นในระดับระหว่างประเทศ ระดับอนุภูมิภาค และระดับภูมิภาค และอาจจัดทำขึ้นในรูปแบบต่างๆ กัน อาทิ อนุสัญญา (Convention) พิธีสาร (Protocol) และข้อตกลง (Agreement) ซึ่งแต่ละรัฐสามารถเลือกที่จะเข้าเป็นภาคีตามนโยบายและผลประโยชน์ของตน ในทางวิชาการกฎเกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวถือรวมกันเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)

 

อนุสัญญาทางทะเลอื่น สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม คือ

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources)

ด้านประมง (Fisheries)

ด้านการขนส่งทางทะเล (Maritime Transport)

                 

       ข้อตกลงทางทะเลอื่นๆ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

 

 

ที่มา : ศรัณย์ เพ็ชร์พิรุณ. 2549. สมุทรกรณี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

 

 



bottom

top

Latest News

Popular


bottom