.

สื่อออนไลน์

Search this site

ลงทะเบียน

MKH Update

สถิติการเข้าชม


การประเมินระบบนิเวศระดับชาติ (National Ecosystem Assessment; NEA)

การประเมินระบบนิเวศระดับชาติ คือ

1. การประเมินองค์ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ แรงขับเคลื่อน ผลกระทบ และการตอบสนองที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายชีวภาพและบริการของระบบนิเวศ

2. การสื่อสารข้อประเมินดังกล่าวที่มีคาามซับซ้อนส่งต่อในระดับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ

3. มุ่งเน้นในการชี้ให้เห็นถึงคำถามเชิงนโยบายในเรื่องดังกล่าว

4. วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่และระบุช่องว่างของความรู้

โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. การสร้างขีดความสามารถของประเทศในการประเมิน

2. ทำการประเมินและส่งต่อข้อค้นพบสู๋ระดับผู้ตัดสินใจเชิงนโยบาย

 

 

 

 

 

 

สถิติเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลปริมาณมาก ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2553

 

ลำดับ

วัน เดือน ปี

ชนิดน้ำมัน

สถานที่เกิด

สาเหตุ

ปริมาณ

1

22 พฤษภาคม 2544

น้ำมันดิบ

ท่อขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ว จำกัด ท่าเรือมาบตาพุด ระยอง

Brakeaway Coupling ขนาด 16 นิ้ว ที่กำลังขนถ่ายจากเรือ Tokachi หลุดออกจากกันทำให้น้ำมันรั่วไหล

30 ตัน

2

15 มกราคม 2545

น้ำมันเตา

หินฉลาม เกาะจวง นอกฝั่งอำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี

เรือ Eastern Fortitude สัญชาติปานามา ชนหินฉลาม

234 ตัน

3

17 ธันวาคม 2545

น้ำมันเตา

ทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ด้านใต้ของเกาะสีชัง ชลบุรี

เรือ Kota Wijaya โดนกับเรือ Sky Ace ทำให้มีน้ำมันเตารั่วไหลลงทะเล

210 ตัน

4

20 พฤศจิกายน 2548

น้ำมันดิบ

บริเวณทุ่นผูกเรือ SBM ของบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อ.ศรีราชา ชลบุรี

ท่อเชื่อมต่อหลุดขณะส่งถ่ายน้ำมัน เนื่องจากคลื่นลมแรง

20 ตัน

5

4 พฤษภาคม 2549

น้ำมันเตา

บริเวณหน้าท่าเทียบเรือ บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด อ.มาบตาพุด ระยอง

รั่วไหลจากรอยรั่วที่ระวางหมายเลข 2 ของเรือบรรทุกน้ำมัน CP 34

20 ตัน

6

6 ตุลาคม 2550

Saraline 185V

บริเวณแท่น Trident-16 (Offshore Mobile Drilling Unit) ของบริษัท Chevron
Thailand

รั่วไหลจาก Storage Tank

220 บาร์เรล

 

7

9 ธันวาคม 2550

น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา

ในทะเลห่างชายฝั่ง อ.สทิงพระ จ.สงขลา ประมาณ 6 ไมล์ทะเล

เรือบรรทุกแก๊สของบริษัท เวิร์ลไวด์ทรานสปอร์ต จำกัด อับปาง

ประมาณ 20,000 ลิตร

8

15 มิถุนายน 2551

น้ำมันเตา

บริเวณอู่เรือบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) อำเภอพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ

รั่วไหลจากเรือสินค้า Chol Han Vong Chong Nyon Ho สัญชาติเกาหลีเหนือ

คาดว่าไม่น้อยกว่า 40,000 ลิตร

9

4 กันยายน 2554

ดีเซล (B5)

ห่างจากเกาะราชาใหญ่ ทางด้านตะวันออก ประมาณ 4 ไมล์ทะเล จ.ภูเก็ต

เรือบรรทุกน้ำมันชื่อ ส.โชคถาวร 6 จม เนื่องจากสภาพภูมิกาศเลวร้ายและมีคลื่นลมแรง

ประมาณ 40,000 ลิตร

ที่มา : รวบรวมจาก กรมเจ้าท่า. สถิติน้ำมันรั่วไหล (Oil spill)

 

 

การใช้ประโยชน์บนพื้นดินใต้ทะเล

 

          การใช้ประโยชน์ในทะเลและชายฝั่งมีหลายรูปแบบ ซึ่งการใช้ประโยชน์บนพื้นดินใต้ทะเลก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้หมายถึง การใช้ประโยชน์ในการวางสายเคเบิลใต้ทะเล โดยประเทศไทยมีสายเคเบิลใต้ทะเลประเภทการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น Domestic Submarine Cable Network เป็นสายเคเบิลใต้ทะเลภายในประเทศและมีการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศด้วย โดยมีสถานีจุดขึ้นบกที่อยู่ภายใต้การดำเนินการของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 จุด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี (อำเภอศรีราชา) เพชรบุรี ชุมพร สงขลา และสตูล (รูปที่ 1)

 

 

รูปที่ 1 ระบบโครงข่ายสายเคเบิลใต้ทะเลและสถานีจุดขึ้นบกที่อยู่ภายใต้การดำเนินการของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

(ที่มา: บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), 2556)

แผนที่สายเคเบิลทั่วโลก

 

          นอกจากสายเคเบิลใต้ทะเลประเภทการเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นดินใต้ท้องทะเลแล้ว ยังมีสายเคเบิลประเภทส่งไฟฟ้า และยังมีระบบท่อขนส่งต่างๆ ที่อาศัยใต้ท้องทะเลเป็นพื้นที่ในการเชื่อมโยง เช่น สายเคเบิลและท่อขนส่งน้ำระหว่างเกาะสมุยและฝั่ง ระบบท่อขนส่งปิโตรเลียมระหว่างแท่นผลิตปิโตรเลียมกับฝั่ง เป็นต้น สำหรับในอนาคตนั้นการใช้เประโยชน์จากพื้นที่ใต้ท้องทะเลในรูปแบบของการวางสายเคเบิลหรือการวางท่อขนส่งใต้น้ำ มีแน้วโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องมีการเชื่อมต่อสื่อสาร และการส่งทั้งในประเทศ โดยเฉพาะตามเกาะต่างๆ หรือ การเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างประเทศก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดพัทลุง

 

ที่ตั้ง : ภาคใต้

อำเภอที่ติดทะเลสาบ : อำเภอเมืองพัทลุง, ควนขนุน, เขาชัยสน,ปากพะยูน,บางแก้ว

ระยะห่างจากกรุงเทพมหานคร : 850 กม.

  พ.ศ. 2550 พ.ศ.2560
พื้นที่ (ตร.กม.)  3,424.47  3,424.47
พื้นที่ (ไร่)  2,140,296 2,140,296
พื้นที่ทะเลสาบ (ไร่) 220,850* 220,850*
ประชากร (คน)   502,563  524,857
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) 147  153
รายได้ประชากร (บาท/คน/ปี)  56,682  60,496
ทรัพยากรปะการัง (ไร่)  -
รัพยากรหญ้าทะเล (ไร่)  -
ทรัพยากรป่าชายเลน (ไร่)  400

ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง ปี 2550

446 
กิจกรรมการท่องเที่ยว (ล้านบาท)  749 2,555 
กิจกรรมการผลิตพลังงานทดแทน    
การกัดเซาะชายฝั่ง (กม.)  -

 

หมายเหตุ :    *ข้อมูลปี 2534

      **ประชากร (คน) ณ ปี 2551

               รายได้ประชากร (บาท/คน/ปี)

ข้อมูลปะการังและหญ้าทะเลปี 2549 และปี 2558

ข้อมูลป่าชายเลนปี ปี 2552 และปี 2557

ข้อมูลการท่องเที่ยวปี 2552 และปี 2558

 

 

ที่มา :

สำนักงานจังหวัดพัทลุง. จังหวัดพัทลุง. "ภูมิประเทศ" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.narathiwat.go.th/nara2016/content/general. สืบค้น 23 สิงหาคม 2561.

กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎร
ทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 14 กันยายน 2552.

สำนัก บัญชีประชาชาติ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550. "ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด 2550." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=96 2552. สืบค้น 14 กันยายน 2252.

สำนักบัญชีประชาชาติ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. "ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2558 ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=gross_regional. สืบค้น ธันวาคม 2560

 

 


bottom

top

Latest News

Popular


bottom